Thursday, December 31, 2009

เรียนสูงช่วยลดเสี่ยงโรคหัวใจ [EN]

นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์
ราชการ(แพทย์)
โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปางครับ...
อ่าน: 15
ความเห็น: 0

เรียนสูงช่วยลดเสี่ยงโรคหัวใจ [EN]

การศึกษาใหม่พบ คนที่เรียนสูงกว่าเป็นโรคหัวใจน้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือเป็นประเทศกำลังพัฒนา [ Reuters ]

...

การศึกษา (วิจัย) จำนวนมากในประเทศตะวันตก (ฝรั่ง) พบความสัมพันธ์ระหว่างฐานะทางสังคมสูง (socioeconomic status; socio- = สังคม; economic = เศรษฐกิจ ฐานะ; socioeconomic = เกี่ยวกับสังคม-เศรษฐกิจ-ฐานะ; ฐานะทางเศรษฐกิจ-สังคม) สูงกับความเสี่ยงโรคหัวใจที่ลดลง

กลไก ที่เป็นไปได้ คือ คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ-สังคมสูงกว่า เช่น รวยกว่า ตระกูลสูงกว่า ฯลฯ มีโอกาสทางการศึกษามากกว่า รายได้สูงกว่า (income = รายได้)

...

ทว่า... การศึกษาทำนองนี้ในประเทศกำลังพัฒนายังไม่มีมาก่อน, การศึกษาใหม่ ตีพิมพ์ในวารสารโรคหัวใจ (Heart) ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างคนไข้โรคหัวใจ 12,000 คน เปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี 14,000 คนจาก 52 ประเ่ทศ

ผล การศึกษาพบตรงกัน คือ ปัจจัยสำคัญไม่ใช่รายได้ (income), วัตถุสิ่งของภายนอก เช่น ปัจจัยสี่ (อาหาร-ที่อยู่อาศัย-เครื่องนุ่งห่ม-ยารักษาโรค) ฯลฯ หรืออาีชีพที่ำทำให้ความเสี่ยงโรคหัวใจลดลง แต่เป็น "ระดับการศึกษา"

...

ผลกระทบนี้พบทั่วโลก ทว่า... พบในประเทศที่ร่ำรวยมากกว่าประเทศที่มีรายได้ปานกลาง หรือต่ำ

กลไก ที่เป็นไปได้ คือ การศึกษาในประเทศที่ร่ำรวยมี "คุณภาพ" สูงกว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะทำให้เกิดการอ่านออกเขียนได้ (literacy) ทางด้านสุขภาพได้แก่

(1). know what causes heart disease = รู้ว่า โรคภัยไข้เจ็บ (โรคหัวใจ) คืออะไร อาการอย่างไร อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยง (cause = สาเหตุ)

(2). know how to avoid causes = รู้ว่า จะหลีกเลี่ยงสาเหตุได้อย่างไร

...

อ.ดร.แอนนิกา โรเซนเกรน และคณะจากมหาวิทยาลัยซาฮ์ลเกรนสกา โกเตอบอร์ก สวีเดน ทีมงานที่ทำวิจัยเรื่องนี้พบว่า

ภาวะ อ้วนลงพุงมีความสัมพันธ์กับนิสัย หรือแบบแผนการใช้ชีวิต (lifestyle) ที่ไม่ดีอธิบายความสัมพันธ์นี้ได้ประมาณครึ่งหนึ่ง เช่น ออกกำลังกายน้อยกว่า, สูบบุหรี่มากกว่า, กินผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกากทิ้ง) และผักน้อยกว่า ฯลฯ

...

คนที่มีการ ศึกษาต่ำ ซึ่งนิยามโดยจำนวนปีที่เข้าโรงเรียน 8 ปีหรือต่ำกว่านั้น มีความเสี่ยงโรคหัวใจกำเริบ (heart attack) เพิ่ม 31% เมื่อเทียบกับคนที่เรียนสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย เช่น อาชีวศึกษา มหาวิทยาลัย ฯลฯ

ความ แตกต่างนี้ชัดเจนมากในประเทศที่ร่ำรวย คือ คนที่มีการศึกษาต่ำเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจกำเริบ 61% ขณะที่ประเทศฐานะปานกลางจนถึงยากจนพบว่า คนที่มีการศึกษาต่ำเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจกำเริบ 25%

...

การศึกษา ก่อนหน้านี้พบว่า คนที่ "จน" มากที่สุดในโลกสมัยใหม่ คือ คนจนในเมืองใหญ่ของประเทศที่ร่ำรวย ซึ่งไม่มีเงินพอที่จะซื้อหาอาหารสุขภาพ โดยเฉพาะผักผลไม้ทั้งผลมากินได้ เช่น สหรัฐฯ, ยุโรปเหนือ-กลาง ฯลฯ

ตรง กันข้าม, คนจนในยุโรปใต้ เช่น สเปน ฯลฯ ซึ่งมีสัดส่วนอยู่นอกเมืองมากกว่า เช่น อยู่ตามบ้านนอก ฯลฯ มีโอกาสปลูกพืชสวนครัว และซื้อหาผักผลไม้ราคาไม่แพงนักภายในหมู่บ้านมากินได้

...

แนวทางป้องกันโรคหัวใจที่เป็นไปได้จากการศึกษาเหล่านี้ได้แก่

(1). ควรบังคับ และสนับสนุนให้คนในประเทศมีระดับการศึกษาสูงขึ้น

(2). ส่ง เสริมการศึกษาผ่านสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อสารคดีดีๆ ถ่ายทอดฟรีทาง TV, อินเตอร์เน็ต เช่น บล็อก, จัดทำช่อง TV สารคดีัผ่านอินเตอร์เน็ต, ทำอินเตอร์เน็ตให้เร็วพอทั้งประเทศ ฯลฯ

(3). ส่ง เสริมการผลิตบุคลากรสุขภาพให้มากพอ โดยเฉพาะหมอฟัน (โรคเหงือกอักเสบ-ปริทนต์หรือเนื้อเยื่อรอบโคนฟันอักเสบเรื้อรัง เพิ่มเสี่ยงเบาหวาน และโรคหัวใจ) พยาบาล ฯลฯ

(4). ส่งเสริมการใช้ชีวิตแบบ "เรียบ-ง่าย-ประหยัด" และการปลูกพืชผักสวนครัว

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Greater education may mean lower heart attack risk' = "การศึกษาที่เพิ่มขึ้นอาจหมายถึงความเสี่ยงโรคหัวใจ (กำเริบ) ลดลง"

@ education (n.) = การศึกษา; mean (v.) = หมายความว่า; lower (v.) = ทำให้น้อยลง; heart (n.) = หัวใจ; attack (n., v.) = โจมตี จู่โจม กำเริบ; risk (n.) = ความเสี่ยง

...

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

...

@ [ educate ] > [ เอ๊ด - ยู - เขท - t ] > Greater education may mean lower heart attack risk > verb = เรียน สอน

@ [ education ] > [ เอ็ด - ยู - เค้ - เฉิ่น (sh); 'sh' ออกเสียงลมรั่ว หรือพ่นลม ยาวกว่า 'ch' ] > http://www.thefreedictionary.com/education > noun = การศึกษา

...

# To educate is to learn or to teach. = การให้การศึกษา คือ การเรียน หรือการสอน.

# We are educated at that school. = เราเรียน (ได้รับการศึกษา) ที่โรงเรียนแห่งนั้น.

# They are educationists. = พวกเขา (พวกเธอ) เป็นนักการศึกษา (คำลงท้ายด้วย '-ist' = ผู้เชี่ยวชาญ เช่น psychologist = จิตแพทย์ ฯลฯ).

...

# High education may prevent heart disease. = การศึกษาสูงอาจช่วยป้องกัน (prevent = ป้องกัน)โรคหัีวใจ.

# That blog is educational & enjoyable. = บล็อกนั้นให้การศึกษา และสนุกด้วย (enjoy = ทำให้สนุก; enjoyable = น่าสนุก ไม่น่าเบื่้อ; คำลงท้ายด้วย '-able' = ทำได้ เป็นไปได้, มักใช้ในความหมายด้านดี)

...

ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา

  • Thank Reuters > Greater education may mean lower heart attack risk. December 24, 2009. / Source > Heart, December 15, 2009.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 25 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: ศ. 25 ธ.ค. 2552 @ 22:23 แก้ไข: ศ. 25 ธ.ค. 2552 @ 22:23

Wednesday, December 30, 2009

บุหรี่เพิ่มเสี่ยงข้ออักเสบ [EN]

บุหรี่เพิ่มเสี่ยงข้ออักเสบ [EN]

การทบทวนผลงานวิจัย 16 รายงานพบ บุหรี่เพิ่มเสี่ยงข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis / RA) [ Reuters ]

...

[ NIH ]

ภาพที่ 1: ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis / RA) ระยะสุดท้าย ทำให้เกิดความพิการ โดยจะพบนิ้วบิดงอ แข็งได้บ่อย > [ NIH ]

...

[ arc.org.uk ]

ภาพที่ 2: ตำแหน่งที่พบข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้บ่อย ข้อที่พบได้บ่อยมาก คือ ข้อนิ้วมือ-ข้อมือ โดยเฉพาะข้อนิ้วชี้-นาง-กลาง-ก้อยข้อที่อยู่ใกล้มาทางข้อมือ > [ arc.org.uk ]

...

บุหรี่เพิ่มเสี่ยงข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) โดยความเสี่ยงนี้พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และคนที่สูบหนักมากกว่าคนที่สูบน้อย

คนไข้โรคนี้ตรวจเลือดพบค่ารูมาตอยด์ แฟคเตอร์ (rheumatoid factor / RF) พบเป็นบวก 80% (ไม่มีการตรวจใดให้ผลบวก = 100% ในชีวิตจริง), ค่านี้บ่งชี้ว่า อาจมีภูมิต้านทานกลุ่มทำลายตัวเอง

...

ผู้ชายที่มีค่า RF บวกมาก่อน และสูบบุหรี่หนัก มีความเสี่ยงต่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มากเป็นพิเศษ

อ.ดร. เอส. กูมาไซ จากมหาวิทยาลัยโกเบ ญี่ปุ่นกล่าวว่า บุหรี่เพิ่มเสี่ยง RA ในผู้ชายเกือบ 2 เท่า แถมยังเพิ่มทั้งในคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ (ever smokers) และคนที่เลิกสูบบุหรี่แล้ว (past smokers)

...

ถ้าตรวจเลือด พบ RF เป็นบวกเพิ่มเสี่ยงเกือบ 4 เท่า, ส่วนผู้หญิงเพิ่มเสี่ยงเป็น 1.2-1.3 เท่าไม่ว่าจะเป็นคนที่สูบบุหรี่ทั่วๆ ไป (current smokers), คนที่สูบมาก หรือสูบเป็นประจำ (ever smokers), หรือคนที่เลิกสูบแล้ว (ex-smokers)

คน ที่มีชั่วโมงบินบุหรี่สูง คือ อย่างต่ำ '20 pack years' = "20 ซองปี = สูบวันละซอง (1 ซอง = 20 มวน) 20 ปี เสี่ยงเพิ่มเป็น 2.3 เท่าในผู้ชาย และ 1.75 เท่าในผู้หญิง

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Smoking ups men's rheumatoid arthritis risk most' = "การสูบบุหรี่เพิ่มเสี่ยงข้ออักเสบรูมาตอยด์ในผู้ชายมากที่สุด"

เรื่องนี้มีคำกำกับชนิดของนักสูบ (smokers) หลายคำได้แก่

@ current = present (adj.) = ปัจจุบัน [ thefreedictionary ]

@ ever = at all times, always (adj.) = เป็นประจำ ตลอดเวลา สม่ำเสมอ [ thefreedictionary ]

@ ex- = former, outside (adj.) = เมื่อก่อน อดีต [ thefreedictionary ]

...

สรุป คือ current smokers = คนที่สูบบุหรี่ ไม่ได้บอกว่า สูบมากหรือน้อย; ever = คนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ (สูบมาก); ex-smokers = คนที่เคยสูบบุหรี่

...

ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา

  • Thank Reuters > Smoking ups men's rheumatoid arthritis risk most. December 24, 2009. / Source > Annals of the Rheumatic Diseases, January 2010.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 25 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: ศ. 25 ธ.ค. 2552 @ 22:31 แก้ไข: ศ. 25 ธ.ค. 2552 @ 22:31

ความเห็น

ไม่มีความเห็น
ชื่อ: นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
อีเมล: frxbaby@yahoo.com
IP แอดเดรส: 119.31.14.215
ข้อความ:
เรียกใช้งานตัวจัดการข้อความ

Tuesday, December 29, 2009

DM Nursing Round พัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาล

DM Nursing Round พัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาล

การเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล (Nursing Round) เป็นการเชื่อมโยงข้อความรู้ทางทฤษฎีสู่การปฏิบัติทางคลินิก

การเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล หรือเรียกสั้นๆว่า Nursing Round เป็นกิจกรรมหนึ่งของทีมพยาบาล ที่ทำขึ้นเพื่อให้พยาบาลได้ร่วมกันประเมิน (ค้นหา)ปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนร่วมกันวางแผนและให้การพยาบาล ตั้งแต่รับผู้ป่วยเข้านอนรักษาในโรงพยาบาลกระทั่งจำหน่ายกลับบ้าน ทั้งนี้เพื่อให้การพยาบาลตอบสนองตรงความต้องการของผู้ป่วย ถูกต้อง ต่อเนื่องและครอบคลุม

Nursing Round มีหลายรูปแบบ อาจทำในผู้ป่วยเฉพาะรายที่มีปัญหาซับซ้อนหรือหลายๆรายพร้อมกัน ส่วนใหญ่นิยมทำที่ข้างเตียงผู้ป่วยทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้มี ส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว ที่สำคัญคือ เป็นการเชื่อมโยงข้อความรู้ทางทฤษฎีสู่การปฏิบัติทางคลินิก ดังนั้นจะเกิดประโยชน์มากๆเมื่อมีพยาบาลที่มีทักษะประสบการณ์สูง (senior staff nurse) ร่วมสะท้อนความคิดเห็นและข้อชี้แนะในกิจกรรมดังกล่าว เช่น สำหรับผู้ป่วยรายนี้ มีปัญหาอย่างนี้ ควรดูแลอย่างไร และติดตามประเมินผลอย่างไร ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล(improve nursing practice)ในที่สุด

ผู้เขียนเห็นว่า การเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล (Nursing Round) มีประโยชน์มากสำหรับการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลโดยเฉพาะสำหรับการดูแลผู้ป่วย เบาหวาน(Diabetes Millitus:DM)ทั้งนี้เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่าผู้ป่วยเบาหวานนั้นมักมี ปัญหาสุขภาพหลายๆเรื่องพร้อมกัน เช่น ตาพิการ ไตพิการ ความดันโลหิตสูง มีแผลง่ายและเรื้อรังฯ ซึ่งหลายท่านอาจเคยได้ยินฉายาของโรคเบาหวานว่า “เบาหวานและคณะฯ”ซึ่ง เป็นความยุ่งยากที่พยาบาลจะสามารถประเมินปัญหาและให้การพยาบาลได้ครอบคลุม ดังนั้นผู้เขียนจึงริเริ่มผลักดันให้เกิดโครงการ DM Nursing Round ขึ้นตามหอผู้ป่วยต่างๆ เช่น กรณีสงฆ์อาพาธ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากพระสงฆ์นั้นไม่สามารถฉันอาหารได้ตามเวลา จึงมีข้อจำกัดในการดูแลที่แตกต่างจากผู้ป่วยทั่วไปค่ะ

DM Nursing Roundที่หอสงฆ์อาพาธ

DM Nursing Round ที่หอผู้ป่วย 9B

หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: ส. 26 ธ.ค. 2552 @ 07:36 แก้ไข: ส. 26 ธ.ค. 2552 @ 08:00

ความเห็น

1.

พี่ลดา..

มีความสุขมากๆในปีใหม่ที่จะถึงนี้ครับผม

Hny1new

2.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 26 ธ.ค. 2552 @ 07:54
#1759604 [ ลบ ]

เป็นกำลังใจให้คนทำงานครับ

3.
P
หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
เมื่อ ส. 26 ธ.ค. 2552 @ 07:58
#1759610 [ ลบ ]

4.
P
หนานเกียรติ
เมื่อ ส. 26 ธ.ค. 2552 @ 11:59
#1759941 [ ลบ ]

แวะมาสวัสดีปีใหม่ครับ...

5.
P
นายประจักษ์ ปานอินทร์
เมื่อ ส. 26 ธ.ค. 2552 @ 13:57
#1760252 [ ลบ ]

ด้วยความระลึกถึงครับ

ชื่อ: นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม

มะรุม พืชมหัศจรรย์

มะรุม พืชมหัศจรรย์

See full size image

มะรุม เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในหลายด้าน เช่น ราก จะมีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ เปลือก จะมีรสร้อน ช่วยขับลม ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้ เป็นต้น

ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ เนื้อในเมล็ด
สรรพคุณ :

ฝัก - ปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ไข้หัวลม เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)

ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก
- แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย

จากประสบการณ์ เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก การรับประทานเนื้อในเมล็ด และใบสดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้

ข้อควรระวัง ในคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน

"มะรุม" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก “ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม” ภาคเหนือเรียก “มะค้อมก้อน” ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง” ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก “ผักเนื้อไก่” เป็นต้น

ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้ทให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้

ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง “ผงนัว” กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก

คุณค่าทางอาหารของมะรุม
มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค
ใบ มะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ

วิตามินเอ บำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า
วิตามินซี ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
แคลเซียม บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
โพแทสเซียม บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
ใยอาหารและพลังงาน ไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุม มีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ปัจจุบันชาวญี่ปุ่น ผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก
ประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศที่ฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบ มะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก “มาลังเก”) เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย

ประโยชน์ของมะรุม
1.ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
2.ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
3.รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4.ช่วย เพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
5.ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
6.ถ้า รับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน
หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7.ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8.รักษา โรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9.รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
10.รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
11.เป็นยาปฏิชีวนะ

น้ำมันมะรุม
สรรพคุณ
..ใช้ หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัส รักษาโรคเริม งูสวัด รักษาและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ รักษาโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น

ชะลอความแก่
กล่าว กันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย

ฆ่าจุลินทรีย์
สาร เบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู
ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

การป้องกันมะเร็ง
สาร เบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็น อาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม


ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก

ใบมะรุม 100 กรัม (คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)
พลังงาน 26 แคลอรี
โปรตีน 6.7 กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน 0.1 กรัม
ใยอาหาร 4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม
วิตามินเอ 6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี 220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน 110 ไมโครกรัม
แคลเซียม 440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)

ทั้งนี้ กลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่ (เอออร์ตา) โดย
กลุ่ม ควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย
ที่ประเทศอินเดีย มีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอร อลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส อะลานีน
ทรานมิโนทราน สเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตับจากยาเหล่านี้

หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
คำสำคัญ: ขอนแก่น5
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 15:32 แก้ไข: อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 15:32

ความเห็น

1.
P
กานต์
เมื่อ อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 17:40
#1762889 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ

มะรุม มีประโยชน์มากจริงๆ กานต์ซื้อมะรุมที่กินแทนชา

กินกะน้ำร้อนตอนเช้าทุกวัน แต่สงสัยว่าคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรกิน

ไม่เข้าใจว่าโรคอะไรบ้างค่ะ? ขอบคุณค่ะที่นำเรื่องดีๆมาแบ่งปัน

โิอเมกา-3 ช่วยสายตาดีไปนาน

อ่าน: 15
ความเห็น: 0

โิอเมกา-3 ช่วยสายตาดีไปนาน [EN]

การศึกษา ใหม่พบ โอเมกา-3 หรือไขมันชนิดดีพิเศษ ซึ่งพบมากในปลาทะเล ช่วยให้สายตา (sharp eyesight; sharp = แหลมคม ฉลาด ชัดเจน; eyesight = สายตา) ดีไปนาน และช่วยต้านโรคจอรับภาพส่วนกลางเสื่อมสภาพที่พบบ่อยในคนสูงอายุ [ Reuters ]

...

อ.ดร.จอห์น พอล ซานจิโอวานนี และคณะจากสถาบันโรคตาแห่งชาติ US ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างคนไข้โรคจอรับภาพส่วนกลางเสื่อมสภาพ (age-related macular degeneration / AMD) ระยะเริ่มแรก 1,837 คน ติดตามไป 12 ปี

ผล การศึกษาพบว่า คนที่กินอาหารที่มีโอเมกา-3 มากที่สุด มีตาเสื่อมเพิ่มขึ้นไปสู่ระยะที่ตาเสื่อม-ตาบอดชัดเจน (โรคแย่ลง) น้อยกว่าคนที่กินน้อย 30%

...

AMD เป็น โรคที่จอรับภาพหรือเรตินา (retina) ส่วนกลาง (เรียกว่า 'macular') เสื่อมสภาพ ทำให้การมองเห็นภาพส่วนกลางเสื่อมสภาพ ที่พบบ่อยได้แก่ ภาพส่วนกลางบางส่วนเบลอ ฝ่าฟาง มืดไป หรือทำให้การมองเห็นเส้นตรงบิดเบี้ยว ผิดรูป

โรคนี้เป็น 1 ในสาเหตุำสำคัญที่ทำให้คนสูงอายุในประเทศตะวันตก (ฝรั่ง) ตาเสื่อมสภาพจนถึงตาบอดได้

...

คนอเมริ กัน 308.23 ล้านคนเป็นโรค AMD 1.75 ล้านคน = 0.57% หรือประมาณ 6 ในพัน, คนยุโรป 803.85 ล้านคนเป็นโรคนี้ 3.35 ล้านคน = 0.42% หรือประมาณ 4 ในพัน

กลไกที่ทำให้เป็นโรคนี้มีหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่การอักเสบหรือธาตุไฟกำเริบ ไขมันชนิดดีพิเศษหรือโอเมกา-3 มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ [ internetworldstats ]; [ Census ]

...

โอเมกา-3s (โปรดสังเกตว่า เติม 's' บอกว่า มีหลายชนิด) ชนิดหลักที่สำคัญมี 2 ชนิดได้แก่ DHA (docosahexanoic acid) & EPA (eicosapentaenoic acid)

คนที่กินโอเมกา-3s เช่น ปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด ฯลฯ มากพอเป็นประจำ ลดเสี่ยงโรค AMD ได้ 30%

...

ปลาทะเล ที่ผ่านการทอดจะมีการ "ซึมเข้า-ซึมออก" ของโอเมกา-3s คือ น้ำมันปลาจะซึมออกไปในกระทะ และน้ำมันในกระทะจะซึมเข้าเนื้อปลา ทำให้ได้รับคุณค่าจากโอเมกา-3s น้อยลง

โอ เมกา-3s ทนความร้อนสูงได้ไม่ดีเท่าน้ำมันชนิดอื่นๆ... การทอด-ปิ้ง-ย่างทำให้เกิดความร้อนสูงกว่าการต้ม-นึ่ง อาจทำให้โอเมกา-3s บางส่วนเสื่อมสภาพจากความร้อน (เกิดเป็นไขมันทรานส์) ได้ (เหตุผลข้อนี้ไม่แรงเท่ากับการซึมเข้า-ซึมออกของการทอด)

...

ตรงกันข้าม... การกินโอเมกา-3s พร้อมพืชผัก หรือน้ำมันพืชชั้นดีมาก เช่น น้ำมันมะกอก คาโนลา เมล็ดชา รำข้าว ถั่วลิสง ฯลฯ ช่วยให้โอเมกา-3s ถูกทำลายจากออกซิเจนน้อยลง

ภายในร่างกายคนเราก็มีออกซิเจนที่ทำลาย โอเม กา-3s ภายในร่างกายได้เช่นกัน จึงควรกินผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกากทิ้ง), และน้ำมันชนิดดีมากเป็นประจำ

...

ผัก ผลไม้ทั้งผล และน้ำมันชนิดดีมากมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยปกป้องโอเมกา-3s จากการถูกออกซิเจนทำลายได้

การ ศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การกินโอเมกา-3s จะได้ผลดีมากขึ้นถ้ากินให้ "บ่อย" มากกว่ากินให้ "มาก", นั่นคือ ถ้าต้องการผลดีที่สุด... ควรกินอย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์

...

กลไกที่เป็น ไปได้ คือ โอเมกา-3s ถูกทำลายได้ง่ายด้วยออกซิเจน ทำให้เกิดการหืน ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นคาวปลา และออกฤทธิ์ได้ดีในช่วงไม่กี่วันแรกหลังกินเข้าไป

การกินให้บ่อยทำให้โอเมกา-3s รุ่นใหม่ หรือทหารผลัดใหม่ เข้าไปทำงานสานต่อโอเมกา-3s รุ่นเก่าได้ต่อเนื่อง

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Omega-3s help stave off age-related vision loss' = "โอเมกา-3s ช่วยต้านทานตาเสื่อม-ตาบอดในคนสูงอายุ"

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

@ [ stave off ] > [ s - เต้ฟ - v - ออฟ; เสียง 'v' พ่นลมเสียงต่ำกว่า 'f' ] > http://www.thefreedictionary.com/stave > verb = ขจัด กำจัด

...

@ [ vision ] > [ วี้ - เฉิ่น (sh); เสียง 'sh' พ่นลม ทำให้เกิดลมรั่วยาวกว่า 'ch' ] > http://www.thefreedictionary.com/vision > noun = สายตา การมองเห็น;

คำ 'vision' = วิสัยทัศน์ การคาดการณ์อนาคต การมองไปข้างหน้าได้ด้วย

...

@ [ eyesight ] > [ อ๊าย - ไส่ - t ] > http://www.thefreedictionary.com/eyesight > noun = สายตา การมองเห็น

...

ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา

  • Thank Reuters > Omega-3s help stave off age-related vision loss. December 24, 2009. / Source > Am J Clinical Nutrition, December 2009.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 26 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 21:27 แก้ไข: อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 21:27

Monday, December 28, 2009

สูตรกึ่งสำเร็จรักษาผู้ป่วยไตวายจากเบาหวาน

สูตรกึ่งสำเร็จรักษาผู้ป่วยไตวายจากเบาหวาน

คำถามสำคัญกว่า...คำตอบ

สูตรกึ่งสำเร็จรักษาผู้ป่วยไตวายจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเกาต์

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม[1]

จากการทำงานดูแลผู้ป่วยมานานกว่าสิบปี พบว่าผู้ป่วยมากมายต้องตายด้วยภาวะไตวายระยะสุดท้าย ผู้ป่วยในชนบทส่วนมาก จะใช้สิทธิบัตรทอง ซึ่งยังไม่ครอบคลุมเรื่องการฟอกไต ทำข้าพเจ้าได้มีโอกาส ไปดูใจ ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายมากกว่า 50 ครั้งแล้ว ทำให้เมื่อสี่ปีที่แล้วเมื่อพ่อสหายสมบูรณ์ผู้ป่วยไตวายต้องตาย เพราะไตวายระยะสุดท้าย และพี่นาวินต้องตายเพราะไตวายทั้งที่อายุไม่ถึง 40 ปี ทำให้ข้าพเจ้าสาบานกับตนเองว่าล้างแค้นโรคไตวายให้จงได้ หากช่วยผู้ป่วยไตวายไม่ได้ จะไม่ขออยู่เป็นเภสัชกร จะขอลาออกจากราชการหากภายในปี 2553 ข้าพเจ้าไม่สามารถช่วยผู้ป่วยไตวายได้

เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้ถามกับตนเองว่า เราในฐานะเภสัชกร จะสามารถช่วยผู้ป่วยไตวายให้รอดชีวิตได้อย่างไร เมื่อคำถามชัดคมแล้ววิชาที่ได้ร่ำเรียนมาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้เกิดขึ้นวิชาแรกคือ การประเมินวรรณกรรม เมื่อคำถามชัดแล้วจึงได้เข้าสู่ การค้นหาคำตอบ ว่า มีเภสัชกรคนไหนในโลก ไหมที่ช่วยผู้ป่วยไตวายได้สำเร็จ โอ้ พระเจ้ายอร์ช... มีครับ มี เภสัชกร ทำสำเร็จแล้วที่ฮ่องกง งานวิจัยชิ้นนั้นมีชื่อเรื่องว่า Effects of structured care by a pharmacist-diabetes specialist team in patients with Type 2 diabetic nephropathy เป็นโครงการที่ทำร่วมกันระหว่างอายุรแพทย์กับเภสัชกร ที่ทำงานอยู่ภาควิขาเดียวกันในคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัย (The Chinese University of Hong Kong)

สาระสำคัญมีอยู่ว่า โครงการนี้ ได้วางระบบการจัดการผู้ป่วย(disease management program) เบาหวานที่มีภาวะไตวายขึ้นมาใหม่โดยมีเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมอยู่ในทีม ผู้ป่วยด้วย โดยในระบบการจัดการผู้ป่วยใหม่นั้นจะเน้นการทำงานดังนี้

  1. ทุก 3 ถึง 4 เดือน คนไข้ต้องได้พบกับผู้เชี่ยวชาญด้านเบาหวาน

  2. ระหว่างการนัดผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ช่วงกลางคนไข้ต้องมาพบเภสัชกรตลอด 2 ปี

  3. มีการติดตามผลการตรวจคนไข้ในเรื่อง ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด(A1C) การทำงานของไต ระดับไขมัน LDL ระดับโปรแตสเซียมในร่างกาย

  4. คุมระดับ ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมัน LDL ระดับโปรแตสเซี่ยม และระดับการทำงานของไตให้ได้ตามเกณฑ์

  5. ใช้ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitor หรือ angiotensin II antagonist ในผู้ป่วยทุกรายที่ไม่มีข้อห้ามใช้

  6. เภสัชกร มีหน้าที่ ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาผู้ป่วย

  7. เภสัชกร ต้องให้คำแนะนำใน การปรับเปลี่ยนลีลาชีวิตผู้ป่วย

  8. เภสัชกร มีหน้าที่แนะนำขนาดยา ที่เหมาะสม และเฝ้าระวังภาวะโปรแตสเซี่ยมในเลือดสูง

จากการทำงาน 2 ปี งานวิจัย นี้แสดงให้เห็นว่า ความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลงร้อยละ 71.4 ส่วนความเสี่ยงในเกิดไตวายระยะสุดท้ายลดลงร้อยละ 41.5 สมัย ก่อนผมเองไม่เคยคิดเลยว่า จะช่วยคนไข้ไตวายได้อย่างไรก็เราเป็นแค่ คนจ่ายยา เป็นแค่เภสัชกร จะไปเดิน Round ward กับแพทย์ ไปแนะนำ ให้หมอสั่งยาตามเภสัชกร แนะนำคงเป็นไปได้ยาก เมื่อได้อ่านงานวิจัยแล้ว ผมก็เริ่มคิด คิดแบบลึกๆ คิดนานๆ ผมจึงได้ข้อสรุปว่า ผมต้องออกจากกรงไปดูคนไข้จริงๆ ถึงบ้าน ถึงแม้ว่าผมจะไปเยี่ยมคนไข้ไตวายอยู่บ่อยๆ แต่ก็เป็นเพียงการดูแลแบบฉาบฉวยเท่านั้น ไม่ได้ลึกซึ้งอะไร

จากการดูแลผู้ป่วยไตวาย แบบบุกถึงบ้าน ตามไปดูแบบถึงลูกถึงคน (ไม่ได้ตังค์ 555 เพราะเบิกโอทียาก ไม่มีเวลาไปเขียนเบิก รายงานมากมาย)นานกว่า 4 เดือน ในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไตวาย 7 เคส ทำให้ผมเข้าใจอะไรต่างๆ ในมุมมองของผู้ป่วยมากมายเลยครับ

โปรดติดตามตอนต่อไป .... ครับ

จากการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยไตวาย 7 รายพบว่า คนไข้มีปัญหาดังนี้

  1. คนไข้ 1 ราย ไม่ถูก diagnosis ว่าเป็น CRFทั้งๆ ที่ ใช่ ทำให้ขาดการรักษา

  2. คนไข้ 2 ราย ขาดการรักษาต่อเนื่อง 1 ราย ไม่สนใจมา รักษา

  3. คนไข้ 1 ราย ไม่รู้ว่าตนเองเป็นไตวาย

  4. คนไข้ 3 ราย ชอบกินอาหารเค็ม

  5. คนไข้ 2 รายได้รับยาที่มีข้อห้ามใช้เสมอ ๆยากลุ่ม NSAIDS

  6. คนไข้ 1 ราย อยู่คนเดียวขาดคนดูแล

ปล.ต้องยกความดีความชอบให้คนต้นคิด ซึ่งก็คือเภสัชกร Wilson Y.S. Leung, BPharm, PhD, Department of Medicine and Therapeutics, The Chinese University of Hong Kong, The Prince of Wales Hospital, Shatin, N.T., Hong Kong.


[1] เป็น เภสัชกรที่ทำงานโรงพยาบาลชุมชนมานานกว่า 14 ปี frxbaby@gmail.com

หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: ส. 28 พ.ย. 2552 @ 08:31 แก้ไข: พ. 02 ธ.ค. 2552 @ 22:44

ความเห็น

1.
P
นู๋ฏวง
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 08:39
#1701598 [ ลบ ]

*-* สวัสดีค่ะ พี่เอก(ขอเรียกพี่ล่ะกัน)

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆที่นำมาฝากค่ะ

2.

ถ้าได้มีคนเห็นความสำคัญในการดูแลเชิงป้องกันก่อนจะไปถึงไตวายระยะสุดท้าย

และร่วมมือกันอย่างจริงจัง ญาติพี่น้องประชาชนก็คงจะไม่ต้องมาล้างไตมากขนาดนี้

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ ปัจจุบันผู้ป่วยสิทธิบัตรทองก็สามารถเข้าถึงบริการได้แล้วนะคะ

โดยเน้นที่การล้างไตทางช่องท้องเป็นหลักค่ะ

3.
P
nussa-udon
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 10:23
#1701838 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะคุณศุภรักษ์ ศุภเอม P

  • เยี่ยมมากๆเลยค่ะ..เยี่ยมถึงบ้านเราจะเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวเห็นความเป็นจริงและการดูแลตนเองของเขาด้วย...
  • เป็นบุญของคนไข้ที่มีเภสัชกรที่ดีใกล้บ้านใกล้ใจค่ะ.....
4.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 14:29
#1702199 [ ลบ ]

ขอบคุณ

P

นู๋ฏวง

ที่ให้กำลังใจเสมอมาครับ

5.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 14:32
#1702203 [ ลบ ]

เรียนคุณ

P

นาง...มณีวรรณ

การป้องกันไตวายระยะสุดท้ายจำเป็น ครับ

ทาง สปสช.น่าจะมีนโยบาย ดูแลคนไข้ก่อนเกิดไตวาย

ระยะสุดท้าย ขอบคุณครับ

6.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 01 ธ.ค. 2552 @ 15:40
#1708424 [ ลบ ]

ไตวาย ช่วยได้ ถ้า จนท.ออกไปช่วยครับ โดยไป

1 ดูไม่ให้ขาดยา

2 ลดอาหารเค็ม

3 ช่วยคุม BP กับ DTXระดับน้ำตาล

แค่นี้ คนไข้ก็ดีขึ้นแล้วครับ

7.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ พ. 02 ธ.ค. 2552 @ 22:45
#1711543 [ ลบ ]

สวัสดีและขอบคุณ

P

nussa-udon

มากที่สุดครับ

Friday, December 25, 2009

ช่วยผมที ...ดูแลคนไข้ NS+DM ไม่หมูอย่างที่คิด

ช่วยผมที ...ดูแลคนไข้ NS+DM ไม่หมูอย่างที่คิด

ต้องสู้ ...เพื่ออะไรบางสิ่ง

การดูแลคนไข้NS ไม่หมูอย่างที่คิด

นายสด คนไข้ผู้อาภัพ

ช่วยผมที ...ดูแลคนไข้ NS+DM ไม่หมูอย่างที่คิด

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม1

ผมเองได้มีโอกาส พบเจอคนไข้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก อยู่หลายครั้งพบว่าคนไข้ ที่เป็นโรค Nephrotic syndrome บางรายจะมีอาการรุนแรงโดยเฉพาะคนไข้เบาหวาน มักจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเสมอ หากมีภาวะ Nephrotic syndrome คนไข้รายหลายจะมีภาวะไตวายร่วมด้วย โดยคนไข้โรคนี้ ส่วนมากจะมีอาการบวมน้ำ บวมหน้า บวมเท้าอยู่เสมอ

นอกจากนี้ คนไข้ ยังมีการทำงานของไตที่เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว หลายรายมีภาวะไตวายเรื้อรัง ทำให้จำเป็นต้องจำกัดน้ำ และเกลือโซเดียมมิฉะนั้น อาจทำให้คนไข้มีภาวะบวมน้ำได้นั่นเอง นอกจากนี้ คนไข้ยังมีภาวะความดันโลหิตสูงอีกด้วย รวมทั้งอาจจะมี โปรตีนรั่วในปัสสาวะ ปกติผู้ป่วย ภาวะ Nephrotic syndrome แพทย์มักจะสั่งยา prednisolone ในขนาดสูง หลายครั้งจำเป็น ต้องเพิ่มขนาดอินซูลิน เนื่องจากเกิดภาวะ hyperglycemia

นายสด คนไข้เบาหวาน ไตวาย และ Nephrotic syndrome ดูจากประวัติแล้วมี Cr=3.36 และ มีความดันค่อนข้างสูง คือ SBP=160-170 mmHg นอกจากนี้ ยังมีปัญหา Severe hyperglycemia มี FBS ประมาณ 300-500 mg/dLแพทย์ส่งตัวไปที่ โรงพยาบาลขอนแก่น ผมเลยคิดว่า คนไข้รายนี้ เป็น high risk patient นายสด อยู่บ้านโนนอินทร์แปลง เมื่อผมได้ไปตามหาแกอยู่ที่บ้าน ก็พบว่าคนไข้ ยาจากโรงพยาบาลขอนแก่น มามากมายไม่ว่าจะเป็น ยารักษาหัวใจล้มเหลว ยารักษาไวรัสตับอักเสบ ยารักษาภาวะไตเสื่อม ยาเบาหวาน แต่แปลกที่นายสด ไม่ได้ยา prednisolone เพื่อรักษา Nephrotic syndrome และได้แต่ยาลดความดันโลหิตที่ออกฤทธิสั้น

จากการประเมินผู้ป่วยผมพบว่า คนไข้หน้าบวม ตีนบวมชัดเจน ยาขับปัสสาวะที่เคยได้ก็ไม่ได้ ผมจึงไม่แน่ใจว่าโรงพยาบาลขอนแก่นจะรู้ว่าคนไข้เป็น Nephrotic syndrome หรือไม่ เพราะให้ยาเหมือนๆ กับคนไข้เป็น หัวใจล้มเหลว วัดความดันโลหิตคนไข้พบว่า BP=220/110 PR=80 วัดซ้ำก็ได้เหมือนเดิม ส่วน DTX=102 mg/dL ผมจึงบอกให้คนไข้ไปนอนโรงพยาบาลทันที คนไข้บอกว่า ไปไม่ได้ เพราะไม่มีใครอยู่กับหลานสองคน ผมมองดูก็ว่าน่าจะจริง ถ้าเป็นผมก็คงห่วงหลานไม่กล้าทิ้งหลานไว้ที่บ้านตามลำพังเช่นกันครับ

ผมจึงได้จัดยาของพ่อสด เป็นแบบยา DOT รวมทั้งเอายาของ รพ.อุบลรัตน์ ที่ใช้กับแกมาจัดเข้าชุดกัน กับยาโรงพยาบาลขอนแก่นแบ่งเป็น ยา 4 มื้อ หลังจากนั้นทุกวัน ผมต้องมาตามดูแกทุกวัน พอเข้าวันที่ 4 ความดันโลหิตของพ่อสดก็ลดเหลือ BP=150/84 PR=77 ซึ่งเป็นค่าที่ผมพอใจ แต่อย่างไรก็ตาม พ่อสดก็ยังมีอาการบวมอยู่นั่นเอง ต่อมาเมื่อยาหมดพ่อสดจึงไปโรงพยาบาล แพทย์ให้นอนโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการเราพบว่า Cr=6.51 mg/dL ไปเสียแล้วครับ โอไตพังลงไปอีก ผมจะทำไงดีเนี่ย...

ใครก็ได้ช่วยผมที โปรดติดตามตอนต่อไป...

1เป็นเภสัชกร รพ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ทำงานมานานกว่า 14 ตั้งแต่ปี 2538 โน่นเลยครับ frxbaby@gmail.com

หมวดหมู่: การศึกษา การเรียนการสอน
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: ศ. 27 พ.ย. 2552 @ 12:50 แก้ไข: ส. 28 พ.ย. 2552 @ 14:41

ความเห็น

1.
P
ขจิต ฝอยทอง
เมื่อ ศ. 27 พ.ย. 2552 @ 12:59
#1699943 [ ลบ ]
  • งานๆม่ง่ายเลยนะครับ
  • รอผู้รู้มาบอกดีกว่า
  • เผื่อจะได้เรียนรู้ด้วย
  • ได้รับเมล์หรือยังครับ
2.
P
JJ
เมื่อ ศ. 27 พ.ย. 2552 @ 13:04
#1699950 [ ลบ ]

ตามมาเรียนรู้ครับ

3.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ศ. 27 พ.ย. 2552 @ 17:16
#1700444 [ ลบ ]

ขอบคุณ ท่าน

P

JJ ที่มาหใ้กำลังใจเสมอครับ

4.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ศ. 27 พ.ย. 2552 @ 17:17
#1700447 [ ลบ ]

อาจารย์

P

ขจิต ฝอยทอง ผมไม่ได้เมลล์ครับ

5.
P
โรจน์
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 09:03
#1701658 [ ลบ ]

สวัสดีครับพี่สุภรักษ์....พี่มีชื่อเล่นไหม (พี่เอก?) ผมอ่าน case นี้แล้วถ้าเป็นผม....จะ review ว่า

1.ตอนนี้เป็น active renal failure ที่ Rx แล้วหายหรือไม่ ...เพราะถ้ากลายเป็น chronic ไปแล้วเราคงหมดหวัง จริง ๆ ถ้า cause คือ NS แล้วไม่ response ต่อ pred ใน 6 เดือน ต้องดูว่าจากอะไร ...connective tissue disease หรือเปล่า อันนี้ผมว่าปรึษา ผอ.ด่วนครับ......ถ้าผมเป็นหมอที่นั่น ผมจะโทรไปคุยกับ nephrologist เพื่อขอ second opinion....ในบางรายได้ ได้ pulse methyl pred หรือ cyclophosphamide ตอบสนองดี (ไม่ทราบว่าอุบลรัตน์มีหมอ med เขาน่าจะช่วยได้)

2. มุมเรื่องการดูแลหลาน...ลองคุยกับลูกๆ นิดนึง่วา ถ้ารู้เหตุผลข้อแรกที่ผมให้ดีพอ ที่จะทำให้เปลี่ยนการตัดสินใจไหม...ให้ autonomy กับครอบครัว

3.อันนีเกินบทบาทเภสัช แต่ ไม่เกินบทบาทเพื่อนมนุษย์....ถ้าคนคนนี้เปรียบเสมือนเป็นญาติเรา

ให้กำลังใจครับ....ถ้าให้ดีใช้ทีมให้ประโยชน์

6.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 14:50
#1702221 [ ลบ ]

ไตวายแย่ลงอาจเกิดจาก

  1. รพ.ขอนแก่น off ยา prednisolone นานเป็นเดือน ทำให้ตีนบวมชัดเจน
  2. ความดันตัวบนสูง คุมไม่ได้ เกิน 180 มม.ปรอท
  3. คนไข้แบบนี้ ที่อุบลรัตน์ ตายไป 2 รายแล้ว ปี 51
  4. คนไข้คนนี้ ตอบสนองต่อยา prednisolone หรือไม่
  5. คนไข้ไม่อยากไป รพ.ขอนแก่น เนื่องจากเปลืองเงิน และไม่พอใจบริการ
  6. ปกติ พอใช้ prednisolobe FBS มักสูงเกิน 300 ตลอด
7.
P
โรจน์
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 16:15
#1702457 [ ลบ ]

case นี้เป็น case ยาก เพระติดล๊อคทั้งเชิงวิชาการและ psychosocial

รู้สึกว่าตอนนี้อยู่ รพ. ใช่ไหมพี่...เห็นว่า BP เริ่มไม่สูงมาก

ดู แล้วที่เร่งด่วนที่มาด้วยกันคือ ARF ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง อาจต้อง dialysis ก่อนถ้า rising Cr หรือมีข้อบ่งชี้อื่น เช่น hyperkalemia

โดย ธรรมชาติ DM ใน CRF มักคุมไม่ยาก เพราะ insulin ที่ถูกทำลายที่ไต น้อยลง ถ้าไม่มีปัจจัยเรื่องยามาเกี่ยว แต่รายนี้น่าจะเป็น steroid induced hyperglycemia ฉีด RI เป็น dose ๆ ไป

8.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 21:04
#1703109 [ ลบ ]

วันนี้ คนไข้ hypoglycemia DTX=17 mg/dL

ผมเจอคนไข้ก็ทุ่มกว่าแล้ว คนไข้อยู่กับหลาน ภรรยาไปเกี่ยวข้าว

เห็นว่า ไม่ค่อยได้กินอะไรทั้งวัน เบื่ออาหาร เมื่อคืน DTX=336 mg/dL อยู่เลย

ไม่รู้ตัว แต่ BP 120/80 PR=88 สุดท้าย หมอ refer ใส่ tube ไม่รู้รอดไหม ทำใจครับ

9.
P
โรจน์
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 23:29
#1703464 [ ลบ ]

ทำดีที่สุดแล้วครับ

10.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อา. 29 พ.ย. 2552 @ 08:23
#1703708 [ ลบ ]

คุณหมอโรจน์ เมลล์หาผมเลยครับ ที่ frxbaby@gmail.com

อ้อนายสด ไม่โคม่าแล้ว ออกจาก ICU แล้ว

แต่อาการยังน่าห่วงครับ

11.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 01 ธ.ค. 2552 @ 21:14
#1709155 [ ลบ ]

พบว่า เมื่อทบทวน

CPG of NS

การรักษา การดูแลผมพลาดไปหลายจุดครับ