Monday, November 30, 2009

เภสัชกร..6 ปี

เภสัชกร..6 ปี

งานคือการปฏิบัติธรรม

คัดมาเล่าบางประโยค เภสัชกร Pharm D

ประโยคต่างๆ ของ ภญ.กฤษณา ไกรสินธ์

หมอยอมรับไหม ที่จะเอาเภสัชกรขึ้นวอร์ดด้วย ที่ผ่านมาหมอยอมรับก็เฉพาะที่

เป็นสามีภรรยา เราต้องยอมรับความจริงอย่างนี้ด้วย

มันก้าวหน้าไม่ได้หรอกค่ะ แหมไปนั่งวิจารณ์ใบสั่งยาหมอ ไปนั่งสั่งยาด้วยกัน มี

หมอคนไหนจะยอม

พี่กับพี่อัจฉรา พ่อเป็นหมอทั้งคู่ เรารู้ว่าไม่มีทางฟังใครหรอก

แต่ระบบยาในโรงพยาบาล ก็ยังต้องการเภสัชกรอยู่

ก็ใช่... แต่การขึ้นวอร์ดคู่กับหมออันนี้คือพี่ห่วง

เภสัชกร และ ท่านอื่นๆ คิดอย่างไรครับ


เมื่อ ได้ยึดข้อคิด แบบนี้ แล้ว เภสัชกรอย่างผม คิดได้ง่ายมากๆ ว่า

ผมจะขึ้นวอร์ดคู่กับแพทย์หรือไม่ คำตอบคือไม่


เพราะ ที่อุบลรัตน์มี หมอ 3.5 คน ทันตแพทย์ 2 คน แต่มีเภสัชกรเพียง 2.5 คน

ผมคงไม่มีเวลาไปเดิน วอร์ดคู่มือกับแพทย์แน่นอน

ในการทำงาน ในช่วงแรก เราต้องการให้หมอยอมรับ เรื่องนั้นไม่ใช่ประเด็น

ประเด็น คือ เภสัชกร ต้องดูแลประชาชน จะทำแบบไหนก็ได้ ไม่ได้ไปเน้น ว่า

ต้องไปขึ้นวอร์ดคู่กับแพทย์ครับ

แต่เภสัชกร ต้องมีทักษะจริงๆ ที่จะช่วยดูแลผู้ป่วยได้ครับ


โดยเภสัชกร ควรมีพื้นความรู้ที่จำเป็น และมีใจรักในงานบริบาลผู้ป่วย


และประสบการณ์ ในการดูแลผู้ป่วยมากพอสมควร

การไปเยี่ยมผู้ป่วยที่วอร์ด

การเขียนบันทึก progress note การทำ care plan

จำเป็น โดยเภสัชกร สามารถ ไปติดตามดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้อย่างสะดวก

เนื่องจากใน วอร์ดหรือ โอพีดี ก็มีพยาบาลกับแพทย์เป็นเจ้าพื้นที่อยู่แล้ว

ส่วนที่บ้าน มีคนไข้ที่มีปัญหาด้านยาและสุขภาพมากมาย รอให้เราช่วยอยู่ครับ

แล้วที่บ้าน แค่เภสัชกร ไป เยี่ยมถึงบ้านคนไข้ ก็ได้ใจคนไข้เต็มๆ แล้วครับ

สรุป

เภสัชกร ไป วอร์ด หรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับ intervention ที่

เภสัชกร ทำให้คนไข้แล้ว


ลดอัตราการตายของผู้ป่วย ลงได้ ร้อยละ 50 แบบนี้ ดีกว่า จ้า

หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อ. 24 พ.ย. 2552 @ 23:42 แก้ไข: พ. 25 พ.ย. 2552 @ 00:08

ความเห็น

1.
P
น้องซิลเวีย
เมื่อ อ. 24 พ.ย. 2552 @ 23:56
#1695046 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • น้องซิลเวียคิดว่า..ระบบงานแบบใหม่..เภสัชกร round ward ในช่วงแรกๆอาจจะดูไม่ชินตาเท่าไรนัก
  • แต่ตอไป...อาจกลายเป็นความจำเป็นและขาดเสียไม่ได้ค่ะ
  • อันนี้เป็นความเห็น..ที่มาจากความรู้อันน้อยนิดของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์เท่านั้นค่ะ
  • แวะเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยความเคารพค่ะ
2.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 00:14
#1695070 [ ลบ ]

ขอให้ น้องซิลเวีย


P

น้องซิลเวีย


ตั้งใจศึกษาให้มากๆครับ น้องลองไปอ่าน


บล็อคเก่าๆ ของผมก็แล้วกัน


http://gotoknow.org/blog/frxbaby

http://gotoknow.org/blog/primarycarerx

http://gotoknow.org/blog/sharp-article


คงจะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นครับ

3.
P
วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 01:02
#1695100 [ ลบ ]

สวัสดีครับท่านศุภรักษ์ นับถือท่านเป็นเภสัชพันธ์หายากครับ กับคำพูดที่ชัดเจน

"เภสัชกร ไป วอร์ด หรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับ intervention ที่

เภสัชกร ทำให้คนไข้แล้ว "

ขอคาระวะครับท่าน

4.
P
ณัฐรดา
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 05:22
#1695137 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ

ข้างบ้านมีร้านขายยาอยู่ร้านหนึ่ง น้องเภสัชกรน่ารักมากเลยค่ะ อธิบายเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับยาแก่ผู้ซื้ออย่างกระจ่างแจ้ง

สามีเป็นหมอฟัน เค้าให้ความเห็นว่า แพทย์ เป็นอาชีพเดียวที่ผิดพลาดไม่ได้ เพราะพลาดไปก็หมายถึงชีวิตคน

ดังนั้นหน้าที่การงานจึงมีโอกาสที่จะสร้างนิสัยเชื่อมั่นในตนเอง ในความเห็นตนเองมากไปให้กับตัวเอง

แหม

แต่นั่นไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่ฟังคนอื่นหรอกนะคะ

เพียงแต่ถ้าเรารู้ไม่ทันว่าพื้นฐานของอาชีพมีส่วนในการสร้างนิสัย เราก็คงหลงไปกับมันน่ะค่ะ

5.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 07:32
#1695263 [ ลบ ]

ขอบคุณ ท่าน

P

วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

ที่มาเยี่ยมชมครับ

ไปอยุธยา สนุกไหมครับ

6.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 07:33
#1695265 [ ลบ ]

ขอบคุณ คุณ

P

ณัฐรดา

ที่มาเป็นกำลังใจครับ

เภสัชกร คงต้องทุ่มเทมากกว่า นี้

และทำแะไรที่แตกต่างเพื่อประชาชนครับ

7.
P
นาย สามารถ เศรษฐวิทยา
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 12:07
#1695739 [ ลบ ]

สวัสดีครับพี่ แวะมาทักทาย วันนี้ออกไปช่วยชาวบ้านแถวไหนครับ

8.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 12:34
#1695785 [ ลบ ]

เมื่อวาน ผมไม่สบาย

มีคนไข้ตายเลย 1 ราย เสียดายไม่ได้ไปดูใจ

วันพุธ กับวัน จันทร์ ไปบ้านศรีสุข ครับ

วันอื่นๆ ไปทั่วอำเภอ เอาแน่ไม่ได้

คืนมีนี้ มีนัดกับแม่ม่าย(ยายทอง) ครับ

9.
P
นาย สามารถ เศรษฐวิทยา
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 12:42
#1695806 [ ลบ ]

ไปตอนกลางคืน ไปรักษายายทอง ยายทองเป็นแม่ม่าย เอา เป็นกำลังใจให้ครับ 555555555 ขอให้หายไข้เร็วน่ะครับ

10.
P
nussa-udon
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 20:49
#1696775 [ ลบ ]

แล้วที่บ้าน แค่เภสัชกร ไป เยี่ยมถึงบ้านคนไข้ ก็ได้ใจคนไข้เต็มๆ แล้วครับ

สุดยอดค่ะ..มาเป็นกำลังใจให้ค่ะ

11.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 21:21
#1696870 [ ลบ ]

ขอบคุณ คุณพยาบาล

P

nussa-udon

มาก ที่มาให้กำลังใจครับ

12.
P
นาย สามารถ เศรษฐวิทยา
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 22:38
#1697097 [ ลบ ]

หายไข้แล้วหรือยังครับพี่หมอ

13.
P
ขจิต ฝอยทอง
เมื่อ จ. 30 พ.ย. 2552 @ 13:21
#1705928 [ ลบ ]

มาบอกว่าสงสารเภสัชกร ได้ขึ้นวอร์ดไม่เต็มคน ดูนะ (แต่มีเภสัชกรเพียง 2.5 คน)

14.
P
Anek Thanonghan
เมื่อ จ. 30 พ.ย. 2552 @ 18:28
#1706604 [ ลบ ]

เห็นเภสัชกร ที่เขียนประเด็นได้สนุกอีกคนใน G2K

ยินดีมากครับ

15.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ จ. 30 พ.ย. 2552 @ 20:58
#1707051 [ ลบ ]

เรียน น้อง


P

นาย สามารถ เศรษฐวิทยา

หายไข้เลยครับ


วันเสาร์เจอคนไข้โคม่า 555

Tuesday, November 24, 2009

เรียนรู้จากการตายของพ่อลองภาค1

เรียนรู้จากการตายของพ่อลองภาค1

บางที คนตายสอนอะไรเรามากกว่า คนเป็นเสียอีก

เรียนรู้จากความตายของตาลองภาค 1

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม

ผมเองเป็นเภสัชกรคนหนึ่ง ที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชนในหมู่บ้าน ไม่แตกต่างจากหมออนามัยคนอื่นๆ หมอแต่ละ คน จะดูแลหมู่บ้าน คนละ 1-2 หมู่บ้าน โดยที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 1 คน จะดูแล 1 หมู่บ้าน ส่วนหมออนามัย 1 คนจะดูแลมากถึง 2 หมู่บ้าน โครงการนี้ จะอยู่ในโครงการใกล้บ้านใกล้ใจของนายแพทย์อภิสิทธิ ธำรงวรางกูร ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศนั่นเอง เภสัชกรอย่างผมเลยต้องทำหน้าที่สารพัดอย่าง ไม่แตกต่างจากหมออนามัย ซึ่งได้แก่ การสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน การเยี่ยมผู้ป่วย การป้องกันโรคไข้เลือกออก การเยี่ยมหญิงหลังคลอด การล้างแผลผู้ป่วย การคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ฯลฯ

ตาลองก่อนเสียชีวิต 1 เดือน

ตาลองเป็นผู้สูงอายุ ที่ขยันอย่างหาตัวจับยาก แกจะตื่นมาทำงาน ตั้งแต่ตี 4 และทำงานไม่หยุดนิ่ง จนถึง 3 ทุ่มแล้ว จึงเข้านอน ตาลองแกมีลูกมากมาย หลายคน โดยแกมีลูกถึง 12 คน ภรรยาของตาลอง มีชื่อว่า ยายปุ่น ปีนี้ ตาลองบ่นปวดแน่นท้องตลอดเวลา บางครั้งก็บ่นว่าปวดแสบลำไส้ เป็นมาหลายปี ไม่หายสักที ในปี พ.ศ.2552 ตาลองก็มีอายุครับ 81 ปีพอดี ตาลองแก เป็นคนมีรูปร่างสูงผอมเหมือนไม้เสียบผี ปกติตาลองมักไม่อยู่บ้าน เนื่องจากแกจะไปทำงานในที่นาของแก หากมีเวลาว่างตาลอง แกจะไปหาปลา ยิงนก ยิงหนู ตามเรื่อง หรือถ้าตาลองแกอยู่บ้าน แกก็จะไม่อยู่เฉยๆ แกจะทำงานสานข้อง สานตระกร้าไปเรื่อยครับ

สำหรับครอบครัวตาลองนั้น ผมได้มีโอกาสมาข้องเกี่ยว เนื่องจากผมมาเยี่ยมเด็กเกิดใหม่ ซึ่งก็คือหลานสาวตาลองนั่นเอง หลานสาวตาลองเมื่อเกิดมา พบว่ามีปัญหา เนื่องจากแม่คลอดลูกบนรถกระบะ ระหว่างเดินทางไปโรงพยาบาลการคลอดลูกบนรถ ทำให้ไม่มีใครตัดสายสะดือให้ ทำให้เลือดจากแม่ไหลลงไปหาทารก ทำให้ทารก มีระดับ Hct สูงถึงร้อยละ 80 ทางโรงพยาบาลจำเป็นต้องส่งต่อทารก ไปที่ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นเพื่อรักษาตัวนานกว่า 5 วันจึงสามารถกลับบ้านได้

นอกจากนั้น พ่อของทารก(น้องนัท) ที่ชื่อสิน แกชอบดื่มสุราจนเมามายอยู่บ่อยๆ ทำให้บางครั้ง หลายคน ถึงกับเอือมระอา กับคอสุรานายสินคนนี้ มาก แต่เมื่อนายสินได้ลูกสาว ผมจึงได้คุยกับนายสินว่า ควรจะเลิกดื่มสุราเพื่ออนาคตของลูกสาว ซึ่งนายสินก็ตบปากรับคำเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ภรรยาตาลอง ที่มีชื่อว่ายายปุ่น ก็มักมีอาการปวดหัว เวียนหัวบ่อยพอ วัดความดันโลหิต ความดันที่วัดได้ก็มักจะสูง แต่พอยายปุ่นนอนพักไม่นาน ความดันโลหิตก็จะลดลงสู่ภาวะปกติเสมอ

ยายปุ่นภรรยาตาลอง

ในช่วงแรกตาลองมักจะบ่นกับผมเสมอว่า มักปวดแน่นท้องบ่อยๆ ไม่หายเสียที ผมก็เอายา ขับลมให้ตาลองกินอาการก็พอทุเลาแต่ก็ไม่หายเสียที ผมชักสงสัยอยู่ในใจแล้ว ว่าตาลองแกจะเป็นโรคมะ... เพราะตาลองนั้นชอบกินปลาดิบและดื่มสุราอยู่บ่อยๆ มานานแล้ว ลูกหลานตาลองก็ได้พาตาลองไปตรวจกับหมอคลินิกหลายครั้ง แต่หมอไม่ได้บอกตาลองเสียทีว่า ตาลองป่วยเป็นอะไรกันแน่ แต่อย่างไรก็ตามผมคาดว่า ตาลองแกคงเป็นมะเร็งตับหรือท่อน้ำดีแน่นอน ตาลองแกทนกับความสงสัยไม่ไหว เลยไปคลินิกอีกครั้ง เค้นถามกับแพทย์จนได้ ว่าตาลองแกเป็นมะเร็งตับ หมอบอกว่าเป็นเยอะแล้ว อยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือนหรอก ตาลองพอแกรู้ว่าตนเองเป้นมะเร็งตับ แกก็ตกใจพอสมควร แต่แกก็รับได้พยายามไป ดูแลตนเองตามที่ผมแนะนำได้แก่ ดื่มน้ำใบหญ้านาง งดหรือลดเนื้อสัตว์ ออกไปนั่งตาดแดดยามเช้า โดยใช้ใบตองกล้วยห่มผิวหนังไว้ นอกจากนี้ ให้ตาลองไปเดินเล่นเท้าเปล่า ที่สนามหญ้าในโรงเรียนศรีสุขทุกวัน ได้ผลครับ เมื่อตาลองทำตามคำแนะนำ อาการปวดท้องก็ลดลงมาก ทานข้าวดี นอนหลับสนิทและหลับลึกมากขึ้น

สำหรับอาการของผู้ป่วยมะเร็งตับนั้นมักมี อาการปวดแน่นท้องนาน ไม่หายเสียที ผู้ป่วยมักจะเบื่ออาหาร บางรายมีอาการดีซ่านและท้องมานเกิดร่วมด้วย ในการรักษาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่เน้น การวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด หรือรักษาความผิดปกติของโรคโดยต้องค้นหาสาเหตุของการเกิดโรคอย่างเป็นขั้น เป็นตอน แต่สำหรับการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย เราจะเน้นการรักษาตามอาการเพื่อให้คนไข้ทุกทรมานน้อยที่สุด

ในกรณีของพ่อลองมีอาการปวดแน่นท้อง และนอนไม่หลับ ยาที่ได้ก็จะเป็นยา Simethicone แก้แน่นท้อง Amitriptylline ช่วยให้นอนหลับและแก้ภาวะทางเดินอาหารผิดปกติด้วย ในช่วงที่ตาลองปวดมากๆ จากมะเร็งผมได้สอนตาลองหายใจแบบทำสมาธิ ในรูปแบบยุบหนอพองหนอ สำหรับอาการปวดจะให้ตาลองกินยา พาราเซตามอลทุก 6 ชั่วโมง สลับกับการกินยา ทรามาดอล 50 มิลลิกรัมทุก 8 ชั่วโมง การให้ยาแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องรอให้คนไข้ปวดมากๆ แล้วมาขอมอร์ฟีนแก้ปวด แต่เป็นการให้ยาตามช่วงเวลา เพื่อข่มอาการปวดไว้ตลอด ทำให้ตาลองไม่ปวดทรมานมาก โดยตั้งแต่ตาลองป่วยจนเสียชีวิตไม่เคยใช้ยามอร์ฟีนแม้แต่หลอดเดียวเลย ซึ่งต่างจากการให้ยาแก้ปวดแบบเดิม คือเมื่อคนไข้บ่นปวดมากๆ พยาบาลจึงค่อยรายงานแพทย์เพื่อให้มอร์ฟีนต่อไป

การให้ยาแบบนี้ ทำให้คนไข้ต้องทุกข์ทรมานมาก ในช่วงสุดท้ายของตาลอง นั้น ตาลองได้นอนพักอยู่บ้าน ที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นของลูกหลานและญาติพี่น้อง ตาลองแกเองก็ไม่ค่อยอยากจะไปโรงพยาบาลอยู่แล้ว ปกติผมเองจะเข้าไปเยี่ยมตาลอง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อดูแลเรื่องการใช้ยา อาหาร และสอนการนวดมือ นวดเท้าให้ตาลอง โดยสอนให้ลูกสาวตาลองชื่อป้าบัว นวดจนตาลองรู้สึกสบายจนนอนหลับไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยานอนหลับทุกวันเหมือนเช่นเดิม นอก จากนี้ ผมยังให้ตาลองท่องคาถาหัวใจธรรมะที่ว่า สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครหนีพ้น การท่องบทธรรมแบบนี้ ทำให้ตาลองจิตใจสงบลงมากทีเดียว

ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายผู้ที่รับงานหนักก็คือลูกสาวป้าบัวและภรรยา ตาลองชื่อแม่ปุ่น มาคอยดูแลตาลองช่วยกันตลอดวัน ตลอดคืน โดยปกติแม่ปุ่นจะมีปัญหาความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว เมื่อตาลองป่วยหนักยายปุ่นคงเครียดและไม่ค่อยได้นอนเต็มอิ่ม ทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูงบ่อยๆ บางครั้งความดันขึ้นถึง 200 มม. ปรอทเลยทีเดียวครับ พอความดันสูงขนาดนี้ ผมก็ได้ให้ อสม.พายายปุ่นไปตรวจกับแพทย์เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงอย่างเป้นเรื่อง เป็นราวทันทีครับ

ป้าบัวลูกสาวตาลอง

หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อ. 24 พ.ย. 2552 @ 17:30 แก้ไข: อ. 24 พ.ย. 2552 @ 21:31

ความเห็น

1.
P
วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
เมื่อ อ. 24 พ.ย. 2552 @ 18:25
#1694309 [ ลบ ]

สวัสดีครับท่านศุภรักษ์ การเยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้ายดีที่สุดคือดูแลใจให้สงบ ชอบใจที่ท่านได้แนะนำ

"ผม ยังให้ตาลองท่องคาถาหัวใจธรรมะที่ว่า สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครหนีพ้น การท่องบทธรรมแบบนี้ ทำให้ตาลองจิตใจสงบลงมากทีเดียว"

งานของพวกเราชาวสาธารณสุขทุกอย่างคือบุญ กุศลแน่แท้ครับท่าน

2.
P
หมอสีอิฐ
เมื่อ อ. 24 พ.ย. 2552 @ 18:39
#1694328 [ ลบ ]

พี่อภิสิทธิ ธำรงวรางกูร กล่อมเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลอย่างไรครับถึงได้มีความสุขกับการออกชุมชน

3.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 24 พ.ย. 2552 @ 18:49
#1694342 [ ลบ ]

ขอบคุณท่าน

P

วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

มากครับ ที่มาเยี่ยมชม

เป็นเกาต์ อย่าลืมตรวจสุขภาพทุกปีครับ โดยเฉพาะตรวจไต..

4.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 24 พ.ย. 2552 @ 18:50
#1694346 [ ลบ ]

เรียน

P

หมอสีอิฐ

คุณ หมออภิสิทธิ เป็นคนสุภาพ ใจเย็น และให้เกียตริผู้อื่นมากๆครับ

5.
P
นาง...มณีวรรณ
เมื่อ อ. 24 พ.ย. 2552 @ 20:31
#1694536 [ ลบ ]

เห็นการดูแลผู้ป่วยอย่างนี้ รู้สึกดี และขอชื่นชม

เป็นการดูแลด้วยใจจริงๆ

ได้ความรู้ใหม่

"ออกไปนั่งตากแดดยามเช้า โดยใช้ใบตองกล้วยห่มผิวหนังไว้"

นอกจากไม่ร้อนผิวแล้วมีผลดีอะไรอีกคะ

6.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 24 พ.ย. 2552 @ 21:19
#1694674 [ ลบ ]

เป็นแนวคิด ของแพทย์ทางเลือกครับ

การอาบแดด จะเพิ่มพลังชีวิตและความอบอุ่นให้คนไข้

การใช้สีเขียวกรองแสงจะทำให้คนไข้ ได้รับแสงในคลื่นที่มีประโยชน์สูง

7.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 24 พ.ย. 2552 @ 21:28
#1694701 [ ลบ ]

ขอบคุณ คุณ

P

นาง...มณีวรรณ

ที่มาเยี่ยมชมมากครับ

HA reaccreditation กับงาน Home health care KPI แม่สอด

HA reaccreditation กับงาน Home health care KPI แม่สอด ตอนที่ 1 "home health care center"

วิสัยทัศน์เก่าคือ "เราจะเป็นหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมภายในเวลา 5 ปี (ผมทำงานมา 5 ปีพอดี....เราบรรลุวิสัยทัศน์เก่าแล้ว) วิสัยทัศน์ใหม่คือ "เราจะเป็น PCU เขตเมืองที่ดีที่สุดในประเทศไทยในเวลา 3 ปี"

ตั้งแต่วันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2552 ผมได้รับ ผิดชอบ งาน HPH ในส่วนของความเชื่อมต่อระหว่าง รพ. ลงสู่ชุมชน อาจารย์ที่เป็นผู้เยี่ยมสำรวจคือ อาจารย์ทัศนีย์ สุมามาลย์ จาก HA reaccreditation กับงาน palliative care KPI แม่สอด (ทีมกัลยาณมิตร) ผมเล่างานที่เป็นส่วน palliative ไปแล้ว คราวนี้ผมเล่าให้ฟังว่า ผมนำเสนออะไรในงานที่เป็นส่วนของ family medicine

อาจารย์ทัศนีย์ สุมามาลย์

เราเล่าเรื่องผลงานเด่น (success story) ที่คิดว่าชัดเจนคือ เราเป็นเจ้าภาพ home health care center ให้ รพ. แม่สอด

นี่คือบทบาทที่สำคัญของ home health care center

จากตารางพบว่า "การส่งผู้ป่วยจากหอผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปี 51,52 เป็นเท่าตัว ในขณะที่จากชุมชนลดลง เพราะ ปี 2550 เราสำรวจผู้พิการในปี 50 ดังนั้นปี 51,52 คือผู้ป่วยรายใหม่....อีกอย่างคือเราพบผู้ป่วยเร็วขึ้นจาก ward"

จากตารางเหลือง...หลังเข้า center เราคัดแยกว่า อยู่ในความรับผิดชอบใครบ้าง พบว่า 31-46% จะอยู่ในความรับผิดชอบของ PCU (หมายความว่าจำนวนนี้ผมดูเอง) ที่เหลือส่งเครือข่าย ดังนั้นถ้าจะมาด่าผมว่า "ตอบกลับน้อย....ส่วนของผมส่งข้อมูลกลับมากกว่า 90% ที่เหลือเป็น uncontrol factor"

ซึง่ในอนาคตเราวางแผนว่า จะจัดการส่งข้อมูลด้วย IT และผมจะปรึกษาท่าน สสอ. พื่อร่วมกันทำงานอย่างจริงจัง

ในปี 2551 ทีมเราร่วมกับฝ่ายการพยาบาลตั้งเกณฑ์กลางชี้วัดคุณภาพ

จะเห็นว่าที่ส่งจาก ward เพิ่มขึ้นจาก 18% เป็น 33% หลังจากเรามี centerถึงจะน้อย แต่ก็เป็นไปในทางที่ดี.....ทีมเราขึ้นร่วม discharge plan เพิ่มจาก 45 เป็น 75% และในตอนต่อไปผมจะนำเสนอวิจัย discharge plan 60 pilot case ที่เราเก็บข้อมูลอะไรบ้างในแบบงานวิจัย โปรดติดตามตอนต่อไป

ที่% เยี่ยมจริงทั้งเครือข่ายลดลงจาก 57 เป็น 69 เพราะการส่งเพิ่มแต่ศักยภาพเราจำกัดพวกเราพยายามแล้วดังตารางต่อมา

ถ้าเราทำมากกว่า 50% แปลว่า เราต้องปิด OPD เพราะฉะนั้น เราเค้นศักยภาพทีมเต็มที่แล้ว สงสัยต้องไปพัฒนาเครือข่ายให้ช่วยเรา

จะเห็นว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของเรา 2 อันดับแรกเป็น DM และ stroke

เราวิเคราะห์ว่า stroke เราเยี่ยมเฉลี่ย 3 ครั้ง/คน..ประเมินครั้งแรก-3 เดือน-6 เดือน ส่วน DM เราเยี่ยมบ่อยในรายที่ uncontrol และทั้ง 2 เรื่องเป็นไปตามนโยบาย รพ.แสดงให้เห็นว่า การส่ง case เป็นไปตามนโยบาย PCT med

เราดูผู้ป่วยแล้วเรามีการประเมินโดยทีมโดยใช้ SOAP format ที่เคยเรียนมาโดยทีม แพทย์-พยาบาล-กายภาพ แต่ จุดอ่อนการประเมินแบบนี้คือ subjective ไป ปีหน้าเราจะเริ่มเก็บข้อมูลเพิ่มเติมใน case DM ใช้ HbA1c 0,3 เดือน หลังดูแล และ stroke เราคุยกับ PCT med ว่าเราจะเก็บ Barthel index ADL

เรามีการดูแลความเสี่ยงและ complication ที่อาจเกิดได้ ที่สำคัญคือ bed sore ในปี 52 เราลดการเกิด bed sore ได้ จาก 23% เป็น 4% โดยเรามี ที่นอนลมบริจาคจากโครงการกัลยาณมิตร เรา intensive มากกับผู้ป่วยที่มี bed sore และเราร่วมแก้ไขปัญหานี้โดยร่วมมือกับผู้ดูแลผู้วย

เราวิเคราะห์ว่า เราช่วยได้ประมาณ 71% ที่เหลือมีปัญหา recurrent เนื่องจากขาดผู้ดูแลหรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เป้าหมายมิใช่ bedsore หากแต่เป็นเรื่องเน้นที่ความสุข การดูแลแผลกดทับในแบบองค์รวม

เราบอกอาจารย์ทัศนีย์ว่า "พวกเราเป็นทีมคุณภาพอย่างแท้จริงผ่านข้อมูลจริงที่พวกเราทุ่มเททำงานกันมา หลายปี" อาจารย์ไม่มีคำถาม แต่รอยยิ้มของอาจารย์ทำให้ผมและทีมมีความสุขมาก

ผมบอกกับทีมว่าเราต้องเปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่แล้ว!!!!!!!!

วิสัย ทัศน์เก่าคือ "เราจะเป็นหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมภายในเวลา 5 ปี (ผมทำงานมา 5 ปีพอดี....เราบรรลุวิสัยทัศน์เก่าแล้ว)

วิสัยทัศน์ใหม่คือ "เราจะเป็น PCU เขตเมืองที่ดีที่สุดในประเทศไทยในเวลา 3 ปี"

หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อ. 24 พ.ย. 2552 @ 08:17 แก้ไข: อ. 24 พ.ย. 2552 @ 08:24

ความเห็น

1.
P
หมอสีอิฐ
เมื่อ อ. 24 พ.ย. 2552 @ 08:32
#1693163 [ ลบ ]

ผมว่าอีก 5 ปีต้องเป็น PCU เขตเมืองที่ดีที่สุดในโลกแน่เลยครับ....ลุย

ปล.เสร็จงานแล้วขอยืมตัวไปพัฒนาเขตชนบทด้วยนะครับ

2.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 24 พ.ย. 2552 @ 08:45
#1693179 [ ลบ ]

ผู้ป่วย HF CRF IHD ่ได้เยี่ยมเหรอครับ

3.
P
โรจน์
เมื่อ อ. 24 พ.ย. 2552 @ 13:06
#1693704 [ ลบ ]

ขอบคุณครับพี่สิอิฐ....แซวผมซะจุกเลยนะครับ

พี่ ศุภรักษ์......อยู่ในหมวดอื่นๆ ครับ เห็น 2%กว่าก็เป็นสิบนะครับพี่ แน่ว่าเรา show หมดไม่ไหวครับที่ไม่พอเขียนและคนอ่านจะเบื่อ