ปัญหาด้านยา การปรับยาขนาดอินซูลิน
เทคนิคการปรับขนาดยาอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน
สำหรับแพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุขและเภสัชกรครับ
(อาจมีศัพท์ทางเทคนิคบ้างครับ)
ปกติ การปรับยา มัก จะปรับตาม FBS แต่ก็จะคลาดเคลื่อนได้ง่าย
กล่าวคือ FBS กับ A1C มักไปคนละทาง
ดังนั้น หากคนไข้ FBS สูง ก็ ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาอินซูลินประมาณ 5-10%
ส่วน คนไข้ที่ FBS ต่ำมาก ก็อาจลดขนาดยา ประมาณ 5-15% เช่นกัน
ความผิดพลาดที่พบบ่อย ในการปรับขนาดยาของแพทย์ก็คือ
พอ hypoglycemia ก็ไปลดขนาดยา จนน่าเกลียด คือ ลดขนาดยาไปถึง 70-90%
เลย ไม่นานคนไข้ก็ต้อง readmit ด้วย Severe hyperglycemia
บ่อยและซ้ำซาก
บทบาทเภสัชกร คือ ไปบอกแพทย์ให้ระวัง
ภาวะ hyperglycemia (หากทำได้)หรือ
ไปติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วย ว่าเกิดปัญหา hyperglycemiaหรือไม่
อย่างกรณีศึกษา
ป้ามี คนไข้เบาหวาน ขาประจำ
hyperglycemia FBS เฉลี่ย 300 mg/dL
อยู่มา วันหนึ่ง คนไข้ มา รพ.เวียนหัว
และ FBS=87 A1C =8.7%
แพทย์ดันลดขนาดยา จาก mixtard 50-0-18 เหลือ mixtard 15-0-0
7 วันต่อมา ผมไปเยี่ยมคนไข้ที่บ้าน(ตามแผน เพราะคิดว่าป้ามี น่า
จะ hyperglycemia แน่นอน)
เพื่้อติดตามดูแล เฝ้าระวัง drug related problem ...dose to low
ผลที่ตามมาก็ คือ คนไข้นอนซึมหมดแรง หงุดหงิด ตลอดวัน เจาะ
เลือดได้ 525 mg/dL
แบบนี้ ถือว่า เป็น Drug related problem=Dose too low ครับ
และเป็น ความคลาดเคลื่อนทางยาหรือไม่?
เชิญแสดงความเห็นได้ครับ
ความเห็น
สวัสดีตอนเช้าครับพี่ นครปฐมอากาศเย็นดี วันนี้ออกแถวไหนครับ แล้วจะโทรไปหาครับ
ไปบ้านหนองแต้และบ้านบ่อครับ
ชาวบ้านน่ารัก อสม.ดี ครับ
ดูแลสุขภาพ น่ะครับ น้องสามารถ
มองสองส่วนค่ะทั้งยาอาจไม่พอและผู้ป่วยไม่ควบคุมด้วยไหมปัจจัยอื่นมีบ้างหรือเปล่าคะ..อากาศเย็นมากรักษาสุขภาพด้วยนะคะ
คนไข้เบื่ออาหาร กินข้าวไม่ได้ นน. ลด 10 กก. ใน 54วัน ครับ
สวัสดีค่ะ คุณเภสัช นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
มารับความรู้การปรับยา...
case ป้ามี...
โชคดีที่มีเภสัชติดตามเยี่ยมนะคะ ไม่งั้นคงน่าเสียใจ
หากคนไข้ FBS สูง ก็ ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาอินซูลินประมาณ 5-10%
ส่วน คนไข้ที่ FBS ต่ำมาก ก็อาจลดขนาดยา ประมาณ 5-15% เช่นกัน
ขอบคุณค่ะ
วันนี้ หาก ทำงานเสร็จแล้ว จะไปหาป้ามี อีกรอบ
เจาะเลือดดูว่า DTX ต่ำกว่า 300 mg/dL หรือไม่ครับ
No comments:
Post a Comment