สูตรกึ่งสำเร็จรักษาผู้ป่วยไตวายจากเบาหวาน
สูตรกึ่งสำเร็จรักษาผู้ป่วยไตวายจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเกาต์
ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม[1]
จากการทำงานดูแลผู้ป่วยมานานกว่าสิบปี พบว่าผู้ป่วยมากมายต้องตายด้วยภาวะไตวายระยะสุดท้าย ผู้ป่วยในชนบทส่วนมาก จะใช้สิทธิบัตรทอง ซึ่งยังไม่ครอบคลุมเรื่องการฟอกไต ทำข้าพเจ้าได้มีโอกาส ไปดูใจ ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายมากกว่า 50 ครั้งแล้ว ทำให้เมื่อสี่ปีที่แล้วเมื่อพ่อสหายสมบูรณ์ผู้ป่วยไตวายต้องตาย เพราะไตวายระยะสุดท้าย และพี่นาวินต้องตายเพราะไตวายทั้งที่อายุไม่ถึง 40 ปี ทำให้ข้าพเจ้าสาบานกับตนเองว่าล้างแค้นโรคไตวายให้จงได้ หากช่วยผู้ป่วยไตวายไม่ได้ จะไม่ขออยู่เป็นเภสัชกร จะขอลาออกจากราชการหากภายในปี 2553 ข้าพเจ้าไม่สามารถช่วยผู้ป่วยไตวายได้
เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้ถามกับตนเองว่า เราในฐานะเภสัชกร จะสามารถช่วยผู้ป่วยไตวายให้รอดชีวิตได้อย่างไร เมื่อคำถามชัดคมแล้ววิชาที่ได้ร่ำเรียนมาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้เกิดขึ้นวิชาแรกคือ การประเมินวรรณกรรม เมื่อคำถามชัดแล้วจึงได้เข้าสู่ การค้นหาคำตอบ ว่า มีเภสัชกรคนไหนในโลก ไหมที่ช่วยผู้ป่วยไตวายได้สำเร็จ โอ้ พระเจ้ายอร์ช... มีครับ มี เภสัชกร ทำสำเร็จแล้วที่ฮ่องกง งานวิจัยชิ้นนั้นมีชื่อเรื่องว่า Effects of structured care by a pharmacist-diabetes specialist team in patients with Type 2 diabetic nephropathy เป็นโครงการที่ทำร่วมกันระหว่างอายุรแพทย์กับเภสัชกร ที่ทำงานอยู่ภาควิขาเดียวกันในคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัย (The Chinese University of Hong Kong)
สาระสำคัญมีอยู่ว่า โครงการนี้ ได้วางระบบการจัดการผู้ป่วย(disease management program) เบาหวานที่มีภาวะไตวายขึ้นมาใหม่โดยมีเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมอยู่ในทีม ผู้ป่วยด้วย โดยในระบบการจัดการผู้ป่วยใหม่นั้นจะเน้นการทำงานดังนี้
-
ทุก 3 ถึง 4 เดือน คนไข้ต้องได้พบกับผู้เชี่ยวชาญด้านเบาหวาน
-
ระหว่างการนัดผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ช่วงกลางคนไข้ต้องมาพบเภสัชกรตลอด 2 ปี
-
มีการติดตามผลการตรวจคนไข้ในเรื่อง ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด(A1C) การทำงานของไต ระดับไขมัน LDL ระดับโปรแตสเซียมในร่างกาย
-
คุมระดับ ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมัน LDL ระดับโปรแตสเซี่ยม และระดับการทำงานของไตให้ได้ตามเกณฑ์
-
ใช้ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitor หรือ angiotensin II antagonist ในผู้ป่วยทุกรายที่ไม่มีข้อห้ามใช้
-
เภสัชกร มีหน้าที่ ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาผู้ป่วย
-
เภสัชกร ต้องให้คำแนะนำใน การปรับเปลี่ยนลีลาชีวิตผู้ป่วย
-
เภสัชกร มีหน้าที่แนะนำขนาดยา ที่เหมาะสม และเฝ้าระวังภาวะโปรแตสเซี่ยมในเลือดสูง
จากการทำงาน 2 ปี งานวิจัย นี้แสดงให้เห็นว่า ความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลงร้อยละ 71.4 ส่วนความเสี่ยงในเกิดไตวายระยะสุดท้ายลดลงร้อยละ 41.5 สมัย ก่อนผมเองไม่เคยคิดเลยว่า จะช่วยคนไข้ไตวายได้อย่างไรก็เราเป็นแค่ คนจ่ายยา เป็นแค่เภสัชกร จะไปเดิน Round ward กับแพทย์ ไปแนะนำ ให้หมอสั่งยาตามเภสัชกร แนะนำคงเป็นไปได้ยาก เมื่อได้อ่านงานวิจัยแล้ว ผมก็เริ่มคิด คิดแบบลึกๆ คิดนานๆ ผมจึงได้ข้อสรุปว่า ผมต้องออกจากกรงไปดูคนไข้จริงๆ ถึงบ้าน ถึงแม้ว่าผมจะไปเยี่ยมคนไข้ไตวายอยู่บ่อยๆ แต่ก็เป็นเพียงการดูแลแบบฉาบฉวยเท่านั้น ไม่ได้ลึกซึ้งอะไร
จากการดูแลผู้ป่วยไตวาย แบบบุกถึงบ้าน ตามไปดูแบบถึงลูกถึงคน (ไม่ได้ตังค์ 555 เพราะเบิกโอทียาก ไม่มีเวลาไปเขียนเบิก รายงานมากมาย)นานกว่า 4 เดือน ในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไตวาย 7 เคส ทำให้ผมเข้าใจอะไรต่างๆ ในมุมมองของผู้ป่วยมากมายเลยครับ
โปรดติดตามตอนต่อไป .... ครับ
จากการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยไตวาย 7 รายพบว่า คนไข้มีปัญหาดังนี้
-
คนไข้ 1 ราย ไม่ถูก diagnosis ว่าเป็น CRFทั้งๆ ที่ ใช่ ทำให้ขาดการรักษา
-
คนไข้ 2 ราย ขาดการรักษาต่อเนื่อง 1 ราย ไม่สนใจมา รักษา
-
คนไข้ 1 ราย ไม่รู้ว่าตนเองเป็นไตวาย
-
คนไข้ 3 ราย ชอบกินอาหารเค็ม
-
คนไข้ 2 รายได้รับยาที่มีข้อห้ามใช้เสมอ ๆยากลุ่ม NSAIDS
-
คนไข้ 1 ราย อยู่คนเดียวขาดคนดูแล
ปล.ต้องยกความดีความชอบให้คนต้นคิด ซึ่งก็คือเภสัชกร Wilson Y.S. Leung, BPharm, PhD, Department of Medicine and Therapeutics, The Chinese University of Hong Kong, The Prince of Wales Hospital, Shatin, N.T., Hong Kong.
[1] เป็น เภสัชกรที่ทำงานโรงพยาบาลชุมชนมานานกว่า 14 ปี frxbaby@gmail.com
No comments:
Post a Comment