Thursday, November 25, 2010

น้องเภสัชทำผมเกือบร้องไห้ครับ

อ่าน: 75
ความเห็น: 7

น้องเภสัชทำผมเกือบร้องไห้ครับ

ไม่ลอง ไม่รู้

ผมเอง ได้ เกิด อาการงานเข้า เนื่องจาก ทางจังหวัด ให้รับผิดชอบงาน

ดูแลผู้ป่วยในชุมชน ตามโครงการ drug safety โดยภาระหน้าที่ของผมก็ คือ นำทีมเภสัชกร พยาบาลชุมชน และหมออนามัย ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน 600 เคส ใน จ.ขอนแก่น ได้แก่ผู้ป่วย เบาหวาน ความดัน โรคไต โรคหืด และโรคหัวใจ

โปรด อ่านรายละเอียด ทางลิงก์นี้ครับ โครงการ drug safety จ.ขอนแก่น และ KM drug safety project

น้องเภสัชกร แต่ละคน ในหลายอำเภอ ได้ออกไปเยี่ยมผู้ป่วย ถึงบ้าน พบเรื่องราวดีๆ มากมาย ที่น้องเภสัช โรงพยาบาลชุมชน ทำได้ดี เกินคาด จนอยากจะร้องไห้เพราะดีใจครับ (เป็นเรื่องที่ คาดไม่ถึงจริงๆ ครับ) เดี๋ยวมาเล่าต่อ... ครับ

ยกตัวอย่าง

เคส 1 ที่เขาสวนกวาง คนไข้โรคหืด ขาดยา เพราะยากจนโครตๆ ไม่มีเงินค่ารถมาเอายาที่โรงพยาบาล ทำให้อาการหอบกำเริบบ่อย เภสัชกร และทีมงานเขาสวนกวาง ก็ ลงขันกันซื้อจักรยาน ให้คนไข้ ปั่นมารับ ยาที่ สถานีอนามัย งดงามมาก แตกต่าง จริงๆ ครับ

เคส 2 ที่มัญจาคิรี วันหยุดเภสัชกร ที่นั่น ไปเยี่ยมคนไข้ที่บ้านครับ คนไข้หลายคนดีใจมาก ที่เภสัชกร มาเยี่ยมพวกเขาถึงบ้าน

เคส 3 หนองสองห้อง พบว่าคนไข้โรคหืด ไม่ยอมใช้ยาพ่นคอ เพราะกลัวพ่นยา มากแล้วจะเป็นมะเร็ง เภสัชกร ไป เคลียร์ กับคนไข้ จนอาการหืด คนไข้ ทุเลามากแล้วครับ

เคส 4 ที่ พล น้องจอย ไปเยี่ยมคนไข้โรคลิ้นหัวใจ พบคนไข้ มี ค่า INR น้อยกว่า 2

พึ่งจะเกิด อัมพาตไม่นาน ทำให้หงุดหงิดและ โมโหร้าย มาก แต่เภสัชกร ที่ อำเภอพล ก็เข้าใจ ความทุกข์ของคนไข้

โอกาสเหล่านี้ จะไม่เกิดขึ้น หาก เภสัชกร ไม่ยอมออกจากห้องยาครับ

Section: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: 15 ตุลาคม 2553 13:23 แก้ไข: 16 ตุลาคม 2553 07:30 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]

บันทึกอื่นๆ

ความเห็น

1.
Ico32
ดอกผักบุ้ง
เมื่อ 15 ตุลาคม 2553 15:29
#2215141 [ ลบ ]

พี่เอก งานเยอะเลยนะคะ ให้กำลังใจค่ะ

จริงๆ แล้วเรามิได้เป็นเพียงเภสัชกร เมื่อเราออกจากห้องที่มีช่องสี่เหลี่ยมกั้นเรากับคนไข้ เรายังเป็นอะไรได้อีกสารพัด ที่สำคัญคือ "ความเป็นมนุษย์" นะคะ ดีใจกับชาวบ้านที่ขอนแก่นจริงๆ ค่ะ

ว่างๆ แวะมาแอ่ว และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับจาวเหนือบ้างเน้อเจ้า

2.
Ico32
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ 15 ตุลาคม 2553 17:33
#2215282 [ ลบ ]

ขอบคุณ น้องดอกผักบุ้งที่มาเป็นกำลังใจครับ

3.
Ico32
คุณระพี
เมื่อ 15 ตุลาคม 2553 20:39
#2215522 [ ลบ ]

Ico32 "คุณศุภรักษ์"สวัสดีค่ะ

เป็นโครงการที่น่าสนใจจริงๆ

ขอบคุณเรื่องราวดีๆนะคะ รอรออ่านรายต่อไป

4.
Ico32
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ 16 ตุลาคม 2553 19:55
#2216429 [ ลบ ]

ขอขอบคุณกำลังใจ จากคุณระพีครับ

5.
Ico32
littlehoneyt
เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2553 19:53
#2245742 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ...

แวะมาแนะนำตัวและขอบคุณที่เข้าไปอ่านบทความค่ะ

มีคำถามสงสัยมาขอถามหน่อยค่ะ...

พ่นยานานๆ เพราะหอบเนี่ยค่ะ จะมีผลข้างเคียงอะไรบ้างคะ

พ่นมาสัก 5 ปีเห็นจะได้นะคะ....ในเด็กนะคะ...

ขอบพระคุณค่ะ....

ครูน้ำผึ้งค่ะ

6.
Ico32
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2553 21:35
#2245938 [ ลบ ]

ยาพ่นในโรคหืด มี 2ประเภท

1 ยาบรรเทาอาการ พ่นเวลาหอบ

2 ยาป้องกันรักษาโรคหืด พ่นทุกวัน จนกว่าจะดี

วัยขนาดนี้แล้ว หากพ่นยาถูกวิธี พ่นมานาน สัก 5 ปี ก็ไม่เป็นไรแน่ครับ ปลอดภัยมากทีเดียว

ยาพ่นน่ะครับ แต่ต้อง แต่ในวัยรุ่้นอาจมี ความเสี่ยงได้หากพ่นยาเกินขนาดครับ

* บ้วนปากหลังใช้ยา

*ใช้ spacer ต่อท่อพ่นยาด้วย

ปล. อาการโรคหืดจะไม่หาย ถ้าไม่รักษาโรคภูมิแพ้ด้วยครับ

7.
Ico32
ขจิต ฝอยทอง
เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2553 21:45
#2245949 [ ลบ ]

เดือนธันวามาที่มหาวิทยาลัยส่งข่าวบ้างนะครับ จะพาไปเลี้ยงเสต็ก ฮ่าๆๆ

Thursday, November 11, 2010

เภสัชกรแกะดำแย่งคนไข้ จากนักกายภาพบำบัด

อ่าน: 63
ความเห็น: 7

เภสัชกรแกะดำแย่งคนไข้ จากนักกายภาพบำบัด

จากเคสกายภาพบำบัด ไงกลายเป็นเคส ปัญหาการใช้ยา งง งง

แพทย์ refer case คนไข้ ให้ นักกายภาพไปเยี่ยมบ้าน

คนไข้ เดินไม่ได้ นักกายภาพไปเยี่ยม ถึงบ้าน ผมขอติดไปเยี่ยมคนไข้ โรคหัวใจด้วย

เห็น น้องกายภาพ มุ่ย ไป คุยคนไข้รายนี้ ที่เดินไม่ได้ นานมาก

เบื่อ ขี้เกียจคอย เลยเข้าไป

บ้านคนไข้ เห็นคนไข้ เอาแต่นั่งบนเตียงเพราะเดินไม่ได้

แต่ด้วย สายตาแบบสาระแน ของเภสัชกรแกะดำ

เหลือบไปเห็นซองยา อะไรแปลกๆ

เอนั่นมันยา MTX นี่ นา ดูแล้วรายนี้น่าจะเป็นคนไข้เป็นรูมาตรอยด์ เลย

สอดถามไปว่า ยานี้ กินอย่างไร คนไข้ บอกว่า ยาหมดไป 3 เดือนแล้ว

มองจากข้อ ที่ คดๆ งอๆ ของคนไข้เลยแน่ใจ ว่าคนไข้ขาดยา MTX

เลยเดิน ไม่ได้ ก็เลยไปสอด สั่งสามี คนไข้ ว่า ต้องพาไป

รพ.ขอนแก่น เพื่อรับยา MTX

ต่อเนื่อง ไม่งั้น ภรรยา จะพิการมากกว่านี้ แล้วจะเดินไม่ได้อีกเลย

3 เดือน ผ่านไป ในที่สุด วันนี้ คนไข้ก็มาโรงพยาบาล เดินมาหาผมที่ห้องยาแล้ว

บอกว่าเดินได้แล้ว คุณหมอ ขอบคุณมาก

กินยา MTX แค่ 40 วันก็เดินคล่องเลย แต่ เมื่อวานหกล้ม

เจ็บตะโพกมากเลย เพราะหกล้ม ที่คันนา

เมื่อวานนี้ หากไม่เจอเภสัชเอก คงไม่มีปัญญาเดินไปหกล้มแน่นอน

เวรกรรมๆ

Section: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: 09 พฤศจิกายน 2553 21:47 แก้ไข: 09 พฤศจิกายน 2553 21:57 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]

บันทึกอื่นๆ

ความเห็น

1.
Ico32
ขจิต ฝอยทอง
เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2553 21:54
#2245963 [ ลบ ]

ฮามากเลย เป็นแกะดำซะแล้ว ฮ่าๆๆๆ

หากไม่เจอเภสัชเอก คงไม่มีปัญญาเดินไปหกล้มแน่นอน

เวรกรรมๆ

2.
Ico32
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2553 21:59
#2245969 [ ลบ ]

ธันวาคม เจอกันที่กำแพงแสนครับหุๆ

อ.ขจิต และน้องสมารถเตรียม เจอกันได้ครับ

ปล.อยากได้ คนดัดแปลง unique content งานภาษาอังกฤษ

ในราคานักศึกษาจัง

3.
Ico32
คุณระพี
เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2553 22:43
#2246020 [ ลบ ]

ไม่ใช่ "สายตาแบบสาระแน" หรอกค่ะ

เป็นสายตาที่มองด้วยหัวใจ..

หัวใจที่ต้องการช่วยเหลือดูแลทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา

ชื่นชมนะคะ "คุณศุภรักษ์"

4.
Ico32
คุณยาย
เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2553 00:04
#2246082 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ

  • โชคดีที่เจอเภสัชฯค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ
5.
Ico32
คุณหลวงเวชการ
เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2553 00:08
#2246086 [ ลบ ]

สวัสดีครับคุณศุภรักษ์

ผู้ป่วยรายนี้โชคดีมากเลยครับ ที่ได้รับคำแนะนำจากผูมีความรู้ อิอิ ไม่งั้นเเย่เลยเนาะ

6.
Ico32
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2553 12:45
#2246574 [ ลบ ]

ขอบคุณ คุณระพีที่มาให้แรงใจ ไฟฝันครับ

Wednesday, November 3, 2010

ตาม ติดการช่วยชีวิคหนุ่ม 26 ปี ไตวายระยะสุดท้าย reality show

อ่าน: 136
ความเห็น: 14

ตาม ติดการช่วยชีวิคหนุ่ม 26 ปี ไตวายระยะสุดท้าย reality show RF1 โดยเภสัชกรแกะดำ

ชักไม่หมู ขอกำลังใจให้ ผมส่งแกรักษา จนรอดตายน่ะครับ

เมื่อวานนี้ ถูกพยาบาลตามไปสักประวัติคนไข้แพ้ยา

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม

พี่น้อย โทรมาตามเภสัชกรว่า คนไข้บอกว่าแพ้ยา เลยไม่ยอมกินยา เพราะกินยาแล้วเวียนหัว เลยโทรมาตามเภสัชกร ให้มาจัดการ ปกติพยาบาล จะตามหาเภสัชกร ก็มีแต่เรื่องเก็บ ADR และไปสอนคนไข้ใช้ยาพ่น ผมก็เลยรีบไป สอบถามคนไข้ ชายหนุ่มอายุ 26 ปี เปิดดูชาร์ตแล้วพบว่า BUN=110 Cr= 19.95 โอ้พระเจ้า ยอร์จ เป็น ESRD ไตวายระยะสุดท้าย น้องแกบอกว่า ผมไตวายมา 7 เดือนแล้ว ไม่ได้ไปรักษา เพราะค่าฟอกไตแพงมาก ในช่วงแรก ของอาการไตวายก็ไม่มีอะไร นอกจากความดันสูงมากเฉย ๆ ตอนนี้แย่เหนื่อยทำงานไม่ไหว เพราะน้ำท่วมปอด เป็น หัวใจล้มเหลว(CHF ) ผมเลย ถามต่อว่าจะไปฟอกไตไหม

คนไข้ตอบว่าไม่ไปหรอก เพราะไม่มีเงิน แต่ จะรอไตพี่สาวมาเปลี่ยนให้ ผมเลยว่าแล้วจะได้เปลี่ยนไตตอนไหน คนไข้ตอบไม่รู้ ผมเลยบอกน้องว่าไปฟอกไตเลยครับ หากรอชักช้า คงได้เปลี่ยนไตชาติหน้า แน่นอน (ตายก่อน) คนไข้ก็บอกผมว่าไม่มีเงินครับ ผมบอกว่าฟอกไตทางหน้าท้อง(CAPD) บัตรทองฟอกฟรี ไม่มีใครเคยบอก น้องเลยเหรอ คนไข้ น้ำตาลซึม บอกว่าไชโยผมไม่ตายแล้วครับพี่หมอ

น้อง พี่ถามไม่มีใครเคยบอกน้องเลยเหรอ ว่า ฟอกไตฟรีแล้ว แต่จะว่าฟรี ก็คงไม่ถูก เพราะต้อง ทำห้องฟอกไต ทำห้องน้ำสะอาด และอ่างล้างมือ บวกกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ราวๆ 30000 บาท น้องพอจะไหวไหม น้องคนนั้นตาเป็นประกายแล้วบอกว่าแค่นี้ ผมจ่ายไหวครับ ผมคิดในใจ ได้ช่วยชีวิตคนไข้ไตวายอีกแล้ว รายนี้ อายุแค่ 26 ปีเอง (คนก่อนก็ 26 ปี ตายที่โคกสูงจากไตวาย ช่วยไม่ทันจริงๆ เลยครับ เสียดายมาก) เดี๋ยวมาเล่าต่อวันหลังครับ

ปล. คนไข้แพ้ยาที่ รพศ.ขอนแก่น รู้ว่าเม็ดขาวเหลี่ยมๆ แต่ไม่ทราบชนิดยา กินแล้วเวียนหัวมาก (อาจไม่แพ้ก็ได้น่ะ) เคสนี้ อาจต้องฟอกไตแบบ haemodialysis ก่อน อาจต้องเสียเงิน???เอา ไงดีพี่น้อง gotoknow ช่วยผมด้วย ผมคนเดียว อาจทำไม่สำเร็จ แต่สมาชิก gotoknow มากมาย มาช่วยกันผมว่า เคสนี้ รอด ขอเป็น reality show แล้วกัน

คนไข้ไตวายระยะสุดท้ายหลาย คนต้องตายเพราะไม่ได้ฟอกไต

ในโรงพยาบาลชุมชน ไม่มีใครรับดูแลเรื่องนี้ ผมแค่แส่เข้าไป ช่วยคนไข้ก็เท่านั้นครับ

Section: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: 11 สิงหาคม 2553 22:22 แก้ไข: 16 สิงหาคม 2553 12:26 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]

บันทึกอื่นๆ

ความเห็น

1.
Ico32
ครูใจดี
เมื่อ 11 สิงหาคม 2553 22:32
#2129746 [ ลบ ]

จะตามไป สักยันต์ ให้คนไข้หรือคะคุณหมอ

เป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกคนเช่นเคนค่ะ

ขอเชิญร่วมกันรำลึกถึงความรักของแม่ และทำความดีเพื่อแม่รักแม่ทุกวัน และรักตลอดไป

ให้ความรักที่เรามีแต่แม่หอมฟุ้ง ดอกมะลิขาวสะพรั่งไปทั่วผืนแผ่นดิน บอกรักแม่ให้ดังก้องฟ้านะคะ

หากจะเอ่ย ถึงความรัก ที่ยิ่งใหญ่
จะมีใคร เทียบเคียงได้ รักของแม่
เมื่อยังเด็ก ลูกยังเล็ก ลูกอ่อนแอ
คนที่เฝ้า คอยดูแล คือแม่เรา
แม่เฝ้ารัก แม่เฝ้าห่วง แม่เฝ้าหวง
เพียงลูกอิ่ม แม่จะอด แม่ทนได้
ลูกผิดหัวง เสียน้ำตา แม่ปลอบใจ
หากเป็นได้ แม่ขอเจ็บ แทนลูกเอง
ลูกขอกอด ขอกราบ แทบเท้าแม่
ที่แม่ทน เลียงดู ให้เติบใหญ่
ลูกขอแทน ความรัก ที่แม่ให้
จะตั้งใจ กระทำตน เป็นคนดี

….รักแม่ที่สุดในโลกค่ะ

ประพันธ์โดย : แววดาว

2.
Ico32
คิดคม สเลลานนท์
เมื่อ 11 สิงหาคม 2553 22:33
#2129751 [ ลบ ]

ขอบคุณคุณหมอมากครับ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้อย่างที่เรารู้หรอกครับ หากเราเอาตัวเราเป็นที่ตั้งก็อาจหงุดหงิดว่าทำไมเขาถึงไม่รู้ เหตุผลแตกต่างมากมายที่คนอื่นไม่รู้เหมือนเรา แบ่งปันความรู้กันด้วยใจเอื่ออารีย์ต่อกัน สังคมก็จะเป็นสุขครับ ขอบคุณครับ

3.
Ico32
นาย ธนา นนทพุทธ
เมื่อ 11 สิงหาคม 2553 22:33
#2129752 [ ลบ ]

สวัสดีครับ คุณเอาใจใส่ดีจริง ๆ ครับ ขอชมที่ช่วยทำความเข้าใจและให้คนไข้สบายใจในการรักษา ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

4.
Ico32
คิดคม สเลลานนท์
เมื่อ 11 สิงหาคม 2553 22:36
#2129760 [ ลบ ]

ผมรีบเขียนไปหน่อยต้องบอกว่าขอบคุณคุณเภสัชกรครับ

5.
Ico32
คุณหลวงเวชการ
เมื่อ 11 สิงหาคม 2553 22:39
#2129764 [ ลบ ]

สวัสดีครับคุณศุภรักษ์

เเวะเข้ามาให้กำลังใจครับ เป็นบุคลากรทางสาธารณสุขนี้ เราต้องทำเพื่อประชาชนจริงๆครับ

6.
Ico32
poo
เมื่อ 11 สิงหาคม 2553 22:50
#2129785 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะคุณหมอบริบาล มาชื่น มาชม และส่งกำลังใจค่ะ

จะอธิษฐานกับฝนดาวตก ขอให้สาธารณสุขเมืองไทยทั่วถึง เท่าเทียม ยั่งยืน ค่ะ

7.
Ico32
กุ้งนาง สุธีรา
เมื่อ 11 สิงหาคม 2553 22:58
#2129802 [ ลบ ]

ขอบคุณเเทนคนไข้ชาวบ้านนะคะ จริงเหรอที่คนไข้ไม่ทราบสิทธิ์ของตัวเองเลยว่าอย่างไร

พี่คิดว่าบัตรทองมีมาหลายปีเเล้ว ไม่น่าหลุด เเต่ยังโชคดีนะคะที่น้องศุภรัก เข้าไปช่วยไว้ทัน เเต่รายเเรกน่าเสียดาย

8.
Ico32
คุณระพี
เมื่อ 12 สิงหาคม 2553 16:30
#2130724 [ ลบ ]

บางครั้งเราคิดว่าคนไข้..น่าจะรู้

แต่มีอีกหลายคนที่ไม่รู้..

ไม่รู้เพราะ..มัวแต่ทำมาหากิน ไม่ได้สนใจสิทธิ์ของตนเอง

ขอบคุณแทนผู้ป่วยไตวายค่ะ

9.
ภิญญา [IP: 124.122.219.44]
เมื่อ 12 สิงหาคม 2553 18:07
#2130864 [ ลบ ]

การปฏิบัติของคุณ ยอดเยี่ยมจริงๆ

10.
Ico32
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ 15 สิงหาคม 2553 17:29
#2135201 [ ลบ ]

ขอบคุณทุกท่าน ที่เป็นกำลังใจ ให้เภสัชกร แกะดำ อาภัพด้วยครับ

11.
Ico32
ครูอ้อย แซ่เฮ
เมื่อ 16 สิงหาคม 2553 07:09
#2136029 [ ลบ ]

มาเยี่ยม มาเป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

12.
Ico32
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ 16 สิงหาคม 2553 12:19
#2136280 [ ลบ ]

วันนี้ คนไข้ยัง นอน รพ. ไม่กล้าไปฟอกไตเช่นเดิม ตอนบ่าย

คงต้องคุยกับ หมอเก่ง(โสด+หล่อเข้ม)

หมอที่สุภาพ ที่สุดในโลกครับ

ว่าจะ ช่วยยังไงเคส นี้ ไม่งั้น ไอ้หวังตายแน่

13.
Ico32
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ 18 สิงหาคม 2553 20:48
#2139728 [ ลบ ]

วันนี้ คนไข้่ไป รพศ.ขอนแก่น ดีแล้ว ไม่รู้ จะได้ฟอกไตแบบ HD วันไหน CR= 24 แล้ว สาธุ

14.
Ico32
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ 16 ตุลาคม 2553 19:58
#2216436 [ ลบ ]

คนไข้ รอดตายแล้ว น่ะครับ เริ่มเดินแข็งแล้ว cr = 5.4 bp 150/90 ฟอกไตแล้ว ครับ

ก้าวต่อไป เภสัชกรแกะดำ

ก้าวต่อไป เภสัชกรแกะดำ

การจัดอบรม การดูแลผู้ป่วยในชุมชน

จบลงแล้ว สองวัน อบรม เจ้าหน้าที่ สถานีอนามัย

พยาบาล และเภสัชกร มันเหมือนกับ การเริ่มต้น

พัฒนางานเยี่ยมบ้าน ให้เป็น ศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ

เป็นอาวุธที่แสนคมกริบ

ด้วยหัวใจของความดีงาม ในการทำงานเพื่อ เพื่อนมนุษย์

เพื่อผู้ป่วยเรื้อรังทั่วไทย ที่ลำบาก ทุกข์ยาก

เราโชคดี ที่ได้ ทีมงาน จาก รพ.กุฉินารายณ์ มาช่วย (โคตรดีมาก)

ซึ่งได้รางวัล

รางวัลข้าราชการต้นแบบ

องค์ความรู้ +หัวใจที่ยิ่งใหญ่+อิสระทางความคิด

คือสูตรสำเร็จ ที่ ยืดหยุ่นอย่างที่สุด

การอบรมสองวัน จบแล้ว แต่ไม่ใช่ จุดจบ

แต่นี่ คือการเริ่มต้น

ของการพัฒนางานเยี่ยมบ้าน แบบ Revolution

แบบ Quantum Change ผมโชคดี ได้ น้องๆ เภสัชกรโรงพยาบาลชุมชนมาช่วย

ได้อาจารย์คณะเภสัช มาบรรยาย

และงาน นี้ ได้ ส่งต่อไปสู่เวบ

http://care7.info สาระแห่งการบริบาล

Section: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: 13 กรกฎาคม 2553 20:02 แก้ไข: 13 กรกฎาคม 2553 20:18 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]

บันทึกอื่นๆ

ความเห็น

1.
Ico32
เบดูอิน
เมื่อ 13 กรกฎาคม 2553 20:46
#2087791 [ ลบ ]

ถ้าเป็นแกะขาวยุ่งแน่

2.
Ico32
ครูใจดี
เมื่อ 16 กรกฎาคม 2553 16:52
#2092285 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ ตามมาชื่นชมการทำงานของทีมเภสัชกรแกะดำ ช่างใช้ถ้อยคำที่สุดยอดจริงๆ

อาวุธที่แสนคมกริบ ด้วยหัวใจของความดีงาม ในการทำงานเพื่อ เพื่อนมนุษย์

ขอเป็นกำลังใจให้คนทำงานเพื่อเพื่อนมนุษย์ค่ะ

อิ่มอร่อยมื้อเย็นคะ

3.
Ico32
โรจน์
เมื่อ 25 กรกฎาคม 2553 11:06
#2104981 [ ลบ ]

เห็นด้วยครับพี่ ดำจริงๆ อิ อิ

ให้กำลังใจคนทำงานครับ

Wednesday, August 25, 2010

สูตรกึ่งสำเร็จรักษาผู้ป่วยไตวายจากเบาหวาน

สูตรกึ่งสำเร็จรักษาผู้ป่วยไตวายจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเกาต์

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม[1]

จากการทำงานดูแลผู้ป่วยมานานกว่าสิบปี พบว่าผู้ป่วยมากมายต้องตายด้วยภาวะไตวายระยะสุดท้าย ผู้ป่วยในชนบทส่วนมาก จะใช้สิทธิบัตรทอง ซึ่งยังไม่ครอบคลุมเรื่องการฟอกไต ทำข้าพเจ้าได้มีโอกาส ไปดูใจ ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายมากกว่า 50 ครั้งแล้ว ทำให้เมื่อสี่ปีที่แล้วเมื่อพ่อสหายสมบูรณ์ผู้ป่วยไตวายต้องตาย เพราะไตวายระยะสุดท้าย และพี่นาวินต้องตายเพราะไตวายทั้งที่อายุไม่ถึง 40 ปี ทำให้ข้าพเจ้าสาบานกับตนเองว่าล้างแค้นโรคไตวายให้จงได้ หากช่วยผู้ป่วยไตวายไม่ได้ จะไม่ขออยู่เป็นเภสัชกร จะขอลาออกจากราชการหากภายในปี 2553 ข้าพเจ้าไม่สามารถช่วยผู้ป่วยไตวายได้

เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้ถามกับตนเองว่า เราในฐานะเภสัชกร จะสามารถช่วยผู้ป่วยไตวายให้รอดชีวิตได้อย่างไร เมื่อคำถามชัดคมแล้ววิชาที่ได้ร่ำเรียนมาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้เกิดขึ้นวิชาแรกคือ การประเมินวรรณกรรม เมื่อคำถามชัดแล้วจึงได้เข้าสู่ การค้นหาคำตอบ ว่า มีเภสัชกรคนไหนในโลก ไหมที่ช่วยผู้ป่วยไตวายได้สำเร็จ โอ้ พระเจ้ายอร์ช... มีครับ มี เภสัชกร ทำสำเร็จแล้วที่ฮ่องกง งานวิจัยชิ้นนั้นมีชื่อเรื่องว่า Effects of structured care by a pharmacist-diabetes specialist team in patients with Type 2 diabetic nephropathy เป็นโครงการที่ทำร่วมกันระหว่างอายุรแพทย์กับเภสัชกร ที่ทำงานอยู่ภาควิขาเดียวกันในคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัย (The Chinese University of Hong Kong)

สาระสำคัญมีอยู่ว่า โครงการนี้ ได้วางระบบการจัดการผู้ป่วย(disease management program) เบาหวานที่มีภาวะไตวายขึ้นมาใหม่โดยมีเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมอยู่ในทีม ผู้ป่วยด้วย โดยในระบบการจัดการผู้ป่วยใหม่นั้นจะเน้นการทำงานดังนี้

  1. ทุก 3 ถึง 4 เดือน คนไข้ต้องได้พบกับผู้เชี่ยวชาญด้านเบาหวาน

  2. ระหว่างการนัดผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ช่วงกลางคนไข้ต้องมาพบเภสัชกรตลอด 2 ปี

  3. มีการติดตามผลการตรวจคนไข้ในเรื่อง ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด(A1C) การทำงานของไต ระดับไขมัน LDL ระดับโปรแตสเซียมในร่างกาย

  4. คุมระดับ ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมัน LDL ระดับโปรแตสเซี่ยม และระดับการทำงานของไตให้ได้ตามเกณฑ์

  5. ใช้ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitor หรือ angiotensin II antagonist ในผู้ป่วยทุกรายที่ไม่มีข้อห้ามใช้

  6. เภสัชกร มีหน้าที่ ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาผู้ป่วย

  7. เภสัชกร ต้องให้คำแนะนำใน การปรับเปลี่ยนลีลาชีวิตผู้ป่วย

  8. เภสัชกร มีหน้าที่แนะนำขนาดยา ที่เหมาะสม และเฝ้าระวังภาวะโปรแตสเซี่ยมในเลือดสูง

จากการทำงาน 2 ปี งานวิจัย นี้แสดงให้เห็นว่า ความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลงร้อยละ 71.4 ส่วนความเสี่ยงในเกิดไตวายระยะสุดท้ายลดลงร้อยละ 41.5 สมัย ก่อนผมเองไม่เคยคิดเลยว่า จะช่วยคนไข้ไตวายได้อย่างไรก็เราเป็นแค่ คนจ่ายยา เป็นแค่เภสัชกร จะไปเดิน Round ward กับแพทย์ ไปแนะนำ ให้หมอสั่งยาตามเภสัชกร แนะนำคงเป็นไปได้ยาก เมื่อได้อ่านงานวิจัยแล้ว ผมก็เริ่มคิด คิดแบบลึกๆ คิดนานๆ ผมจึงได้ข้อสรุปว่า ผมต้องออกจากกรงไปดูคนไข้จริงๆ ถึงบ้าน ถึงแม้ว่าผมจะไปเยี่ยมคนไข้ไตวายอยู่บ่อยๆ แต่ก็เป็นเพียงการดูแลแบบฉาบฉวยเท่านั้น ไม่ได้ลึกซึ้งอะไร

จากการดูแลผู้ป่วยไตวาย แบบบุกถึงบ้าน ตามไปดูแบบถึงลูกถึงคน (ไม่ได้ตังค์ 555 เพราะเบิกโอทียาก ไม่มีเวลาไปเขียนเบิก รายงานมากมาย)นานกว่า 4 เดือน ในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไตวาย 7 เคส ทำให้ผมเข้าใจอะไรต่างๆ ในมุมมองของผู้ป่วยมากมายเลยครับ

โปรดติดตามตอนต่อไป .... ครับ

จากการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยไตวาย 7 รายพบว่า คนไข้มีปัญหาดังนี้

  1. คนไข้ 1 ราย ไม่ถูก diagnosis ว่าเป็น CRFทั้งๆ ที่ ใช่ ทำให้ขาดการรักษา

  2. คนไข้ 2 ราย ขาดการรักษาต่อเนื่อง 1 ราย ไม่สนใจมา รักษา

  3. คนไข้ 1 ราย ไม่รู้ว่าตนเองเป็นไตวาย

  4. คนไข้ 3 ราย ชอบกินอาหารเค็ม

  5. คนไข้ 2 รายได้รับยาที่มีข้อห้ามใช้เสมอ ๆยากลุ่ม NSAIDS

  6. คนไข้ 1 ราย อยู่คนเดียวขาดคนดูแล

ปล.ต้องยกความดีความชอบให้คนต้นคิด ซึ่งก็คือเภสัชกร Wilson Y.S. Leung, BPharm, PhD, Department of Medicine and Therapeutics, The Chinese University of Hong Kong, The Prince of Wales Hospital, Shatin, N.T., Hong Kong.


[1] เป็น เภสัชกรที่ทำงานโรงพยาบาลชุมชนมานานกว่า 14 ปี frxbaby@gmail.com

Sunday, August 22, 2010

ข้อบังคับ 6 ประการเมื่อเป็นไตวาย

ข้อบังคับ 6 ประการเมื่อเป็นไตวาย

จงมีแผนที่ดี และมีวินัยในการทำงาน

เมื่อ ท่าน หรือ คนที่ ตนรักเป็นไตวาย ควร ทำดังนี้

1 ประเมินภาวะการทำงาน ของไต ทุก 2-6 เดือน

หาก การทำงานของไตเหลือ น้อยกว่า ร้อยละ 20 เตรียมฟอกไต

2 วัดความดันโลหิต ทุกวัน และตรวจเลือดระดับน้ำตา่ล ให้ บ่อยๆ

โดยคุมให้ความดันต่ำกว่า 125/75 มม.ปรอท และ ระดับน้ำตาลต่ำกว่า 180 มก./ดล. หาก กินอาหารแล้ว หาก ตื่นนอนใหม่ ควร ต่ำกว่า 130

หาก ความดันสูง น้ำตาลสูง อาจจำเป็นต้องเพิ่มยาได้ (ปรึกษาแพทย์)

3 งดเกลือ น้ำปลา ปลาร้า ซอส ซีอิ๋ว ให้ มากที่สุด ไม่ตายหรอก

ปรุงอาหารด้วยมะนาว พริกสด อาหารรสขมแทนเค็ม 555

4 หาก ไม่แน่ใจ อย่าซื้อยากินเองโดยเฉพาะยาแก้ปวดต่างๆ (พาราเซตกินได้)

5 คุมน้ำ ไม่ให้เกิน ไม่ให้ บวม

6 พบหมอไตทุก 6 เดือน เพื่อตรวจ

K level Cr/BUN Hct/Hb A1C ทุก 3-6 เดือน ครับ

Thursday, June 3, 2010

การทำงานร่วมกันของเภสัชกร กับพยาบาลสามารถช่วยผู้ป่วยความดันสูงได้

การทำงานร่วมกันของเภสัชกร กับพยาบาลสามารถช่วยผู้ป่วยความดันสูงได้

เภสัชกร กับพยาบาล ช่วยกันดังนี้

1 Care from a pharmacist and nurse team included a wallet card with recorded BP measures,

เภสัชกร กับพยาบาล มีบันทึก การวัดความดันผู้ป่วย
2 cardiovascular risk reduction education and counseling,

มีการให้สุขสึกษา และ คำปรึกษา

3 a hypertension education pamphlet,

มีแผ่นพับ ให้ สุขศึกษา
4 referral to the patient's primary care physician for further assessment or management, a 1-page local opinion leader–endorsed evidence summary sent to the physician reinforcing the guideline recommendations for the treatment of hypertension and diabetes,

มีการส่งต่อแพทย์ พร้อม สรุปแนวทางการรักษาโรคเพื่อ กระต้นให้แพทย์รักษา ตาม CPG
แพทย์ที่แคนาดา ก็มั่วเหมือนกัน 55555


5 4follow-up visits throughout 6 months.


ติดตามคนไข้ 4 ครั้งใน 6เดือน

A Randomized Trial of the Effect of Community Pharmacist and Nurse Care on Improving Blood Pressure Management in Patients With Diabetes Mellitus

Study of Cardiovascular Risk Intervention by Pharmacists–Hypertension (SCRIP-HTN)

Donna L. McLean, MN, RN NP; Finlay A. McAlister, MD, MSc, FRCPC; Jeffery A. Johnson, BSP, PhD; Kathryn M. King, RN, PhD; Mark J. Makowsky, BSP, PharmD; Charlotte A. Jones, PhD, MD, FRCPC; Ross T. Tsuyuki, BSc(Pharm), PharmD, MSc, FCSHP, FACC; for the SCRIP-HTN Investigators

Arch Intern Med. 2008;168(21):2355-2361.

Background Blood pressure (BP) control in patients with diabetes mellitus is difficult to achieve and current patterns are suboptimal. Given increasing problems with access to primary care physicians, community pharmacists and nurses are well positioned to identify and observe these patients. This study aimed to determine the efficacy of a community-based multidisciplinary intervention on BP control in patients with diabetes mellitus.

Methods We performed a randomized controlled trial in 14 community pharmacies in Edmonton, Alberta, Canada, of patients with diabetes who had BPs higher than 130/80 mm Hg on 2 consecutive visits 2 weeks apart. Care from a pharmacist and nurse team included a wallet card with recorded BP measures, cardiovascular risk reduction education and counseling, a hypertension education pamphlet, referral to the patient's primary care physician for further assessment or management, a 1-page local opinion leader–endorsed evidence summary sent to the physician reinforcing the guideline recommendations for the treatment of hypertension and diabetes, and 4 follow-up visits throughout 6 months. Control-arm patients received a BP wallet card, a pamphlet on diabetes, general diabetes advice, and usual care by their physician. The primary outcome measure was the difference in change in systolic BP between the 2 groups at 6 months.

Results A total of 227 eligible patients were randomized to intervention and control arms between May 5, 2005, and September 1, 2006. The mean (SD) patient age was 64.9 (12.1) years, 59.9% were male, and the mean (SD) baseline systolic/diastolic BP was 141.2 (13.9)/77.3 (8.9) mm Hg at baseline. The intervention group had an adjusted mean (SE) greater reduction in systolic BP at 6 months of 5.6 (2.1) mm Hg compared with controls (P = .008). In the subgroup of patients with a systolic BP greater than 160 mm Hg at baseline, BP was reduced by an adjusted mean (SE) of 24.1 (1.9) mm Hg more in intervention patients than in controls (P < .001).

Conclusion Even in patients who have diabetes and hypertension that are relatively well controlled, a pharmacist and nurse team–based intervention resulted in a clinically important improvement in BP.

Trial Registration clinicaltrials.gov Identifier: NCT00374270


Author Affiliations: Department of Medicine, Faculty of Medicine (Ms McLean and Drs McAlister and Tsuyuki), School of Public Health (Drs McAlister, Johnson, and Tsuyuki), and Faculty of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences (Drs Makowsky and Tsuyuki), University of Alberta, Edmonton; and Institute of Health Economics (Drs McAlister, Johnson, and Tsuyuki) and Departments of Community Health Sciences (Drs King and Jones) and Medicine (Dr Jones), Faculty of Medicine, and Faculty of Nursing (Dr King), University of Calgary, Calgary, Alberta, Canada.


เภสัชกร ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ด้วย การ โทรศัพท์ติดตาม

เภสัชกร ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ด้วย การ โทรศัพท์ติดตาม

ผู้ป่วยหลายคน มี ปัญหา non compliance

โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้ยามากกว่า 5 ชนิด

เมื่อเราค้นพบผู้ป่วยที่มี non compliance

เภสัชกร สามารถให้คำปรึกษา ผู้ป่วยและโทร ติดตามได้

ดั่งงานชิ้นนี้ เภสัชกร ช่วยให้คนไข้ ตายลดลงถึง ร้อยละ 41 ทีเดียว

BMJ 2006;333:522 (9 September), doi:10.1136/bmj.38905.447118.2F (published 17 August 2006)

Research

Effectiveness of telephone counselling by a pharmacist in reducing mortality in patients receiving polypharmacy: randomised controlled trial

Jennifer Y F Wu, pharmacist1, Wilson Y S Leung, pharmacist1, Sophie Chang, assistant professor3, Benjamin Lee, pharmacist2, Benny Zee, director4, Peter C Y Tong, associate professor1, Juliana C N Chan, professor of medicine and therapeutics1

1 Department of Medicine and Therapeutics, Chinese University of Hong Kong, Prince of Wales Hospital, Shatin, Hong Kong SAR, 2 Department of Pharmacy, Prince of Wales Hospital, 3 School of Pharmacy, Chinese University of Hong Kong, 4 Centre for Clinical Trials, Chinese University of Hong Kong

Correspondence to: J C N Chan jchan@cuhk.edu.hk

Abstract

Objective To investigate the effects of compliance and periodic telephone counselling by a pharmacist on mortality in patients receiving polypharmacy.

Design Two year randomised controlled trial.

Setting Hospital medical clinic.

Participants 502 of 1011 patients receiving five or more drugs for chronic disease found to be non-compliant at the screening visit were invited for randomisation to either the telephone counselling group (n = 219) or control group (n = 223) at enrolment 12-16 weeks later.

Main outcome measures Primary outcome was all cause mortality in randomised patients. Associations between compliance and mortality in the entire cohort of 1011 patients were also examined. Patients were defined as compliant with a drug if they took 80-120% of the prescribed daily dose. To calculate a compliance score for the whole treatment regimen, the number of drugs that the patient was fully compliant with was divided by the total number of prescribed drugs and expressed as a percentage. Only patients who complied with all recommended drugs were considered compliant (100% score).

Results 60 of the 502 eligible patients defaulted and only 442 patients were randomised. After two years, 31 (52%) of the defaulters had died, 38 (17%) of the control group had died, and 25 (11%) of the intervention group had died. After adjustment for confounders, telephone counselling was associated with a 41% reduction in the risk of death (relative risk 0.59, 95% confidence interval 0.35 to 0.97; P = 0.039). The number needed to treat to prevent one death at two years was 16. Other predictors included old age, living alone, rate of admission to hospital, compliance score, number of drugs for chronic disease, and non-treatment with lipid lowering drugs at screening visit. In the cohort of 1011 patients, the adjusted relative risk for death was 1.61 (1.05 to 2.48; P = 0.029) and 2.87 (1.80 to 2.57; P <> in patients with compliance scores of 34-66% and 0-33%, respectively, compared with those who had a compliance score of 67% or more.

Conclusion In patients receiving polypharmacy, poor compliance was associated with increased mortality. Periodic telephone counselling by a pharmacist improved compliance and reduced mortality.


Wednesday, June 2, 2010

ยาคู่นี้ ไม่ใช่สีเทา lopid+simvas

ยาคู่นี้ ไม่ใช่สีเทา lopid+simvas

จงอย่าประมาท

ปัจจุบันเราอาจพบว่า การใช้ยาร่วมกันระหว่าง

gemfibrozil+simvastatin แม้ มีข้อห้ามใช้ แต่แพทย์ก็ยังสั่งยาคู่กัน

เพราะ มีความเชื่อว่า ได้ประโยชน์ กับผู้ป่วย แต่ทว่า

จากงานวิจัย เรื่อง

Effects of Combination Lipid Therapy in Type 2 Diabetes Mellitus

This article (10.1056/NEJMoa1001282) was published on March 14, 2010, and updated on March 18, 2010, at NEJM.org.

Conclusions The combination of fenofibrate and simvastatin did not reduce the rate of fatal cardiovascular events, nonfatal myocardial infarction, or nonfatal stroke, as compared with simvastatin alone. These results do not support the routine use of combination therapy with fenofibrate and simvastatin to reduce cardiovascular risk in the majority of high-risk patients with type 2 diabetes.

พบว่า การใช้ ยา สองชนิด ร่วมกัน ไม่เกิดผลดีเหนือกว่า การใช้ simvastatin เพียงตัวเดียวครับ นอกจากนี้ ในอดีต คดีความที่แพทย์ใน usa แพ้คดี ต้องจ่ายเงินให้คนไข้มากมาย ก็แพ้คดี การใช้ยา statin+ยา lopid นี่แหละครับ

ชัดเจน หาก ใครจ่ายยาคู่นี้ ออกไป จงดูแลตนเองน่ะครับ ระวังถูกฟ้องร้องได้ หากเกิดอะไรขึ้นมากับคนไข้

หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อ. 04 พฤษภาคม 2553 @ 06:27 แก้ไข: อ. 04 พฤษภาคม 2553 @ 06:27

ความเห็น

1.
P
นาย สามารถ เศรษฐวิทยา
เมื่อ พ. 19 พฤษภาคม 2553 @ 17:24
#2005198 [ ลบ ]

สวัสดีครับพี่หมอ พี่หมอสบายดีน่ะครับ รวยแล้วไม่เคยเจอกันเลย สุดท้ายด้วยความเคารพครับ พี่หมอหล่อมากครับ

2.
P
ราชิต สุพร
เมื่อ ส. 22 พฤษภาคม 2553 @ 09:20
#2009170 [ ลบ ]

การดำเนินวิธีชีวิตด้วยความเรียบง่าย และสุขุ่มนุ่มลึก ก็เป็นแนวทางเลี่ยงจากความประมาทครับ

ชื่นชมครับ แวะมาเยี่ยมเยียน..

3.
P
บุษรา
เมื่อ อ. 01 มิ.ย. 2553 @ 19:09
#2025415 [ ลบ ]
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยียนกันค่ะ สบายดีนะค่ะ พร้อมกับมาเชิญชวนไปชม "สุดยอดส้วม...โรงพยาบาลพะโต๊ะ"
  • ขอบคุณค่ะ
  • Tuesday, June 1, 2010

    วิตามินเพิ่มความอยากอาหารในเด็ก

    วิตามินเพิ่มความอยากอาหารในเด็ก

    พ่อ แม่หลายคนมักจะกังวลกับการที่ลูกไม่ยอมรับประทานอาหาร รับประทานอาหารน้อย หรือรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน ไม่ยอมรับประทานผักผลไม้ที่มีประโยชน์ ส่งผลให้มีภาวะทางโภชนาการที่บกพร่อง ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กได้

    สำหรับ วิตามินที่จะช่วยให้เด็กรับประทานอาหารรับประทานอาหารได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์เนื่องจากไม่ค่อยรับประทานอาหาร และนม จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในตำราทางโภชนศาสตร์พบว่ามีการระบุว่ามีวิตามินบาง ชนิดสามารถช่วยในการเจริญอาหารได้นั้น ได้แก่ วิตามินบี 1 มีฤทธิ์ทำให้ช่วยเจริญอาหาร และวิตามินบี 12 มีฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็ก โดยในเด็กที่ด้อยพัฒนาการ และเด็กขาดสารอาหาร มักมีการขาดวิตามิน บี12 และวิตามินอย่างอื่นร่วมด้วย เมื่อให้วิตามิน บี12 จะเพิ่มความอยากอาหาร กินอาหารได้มากขึ้น แต่ในเด็กที่เจริญเติบโตเป็นปกติ ไม่ขาดวิตามินนี้ การให้วิตามิน บี12 จึงไม่มีผล

    การที่จะให้วิตามินเสริมเพื่อช่วยให้เด็กเจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น อาจให้ในรูปที่เป็นวิตามิน บีรวม (Vitamin B complex) หรือวิตามินรวม (Multivitamins) ซึ่งจะช่วยเสริมวิตามินอื่นๆ ที่เด็กไม่ค่อยรับประทานอาหารและนมซึ่งอาจมีภาวะของการขาดวิตามินได้

    เด็ก ที่ควรได้รับวิตามินเสริม ได้แก่ เด็กที่มักรับประทานอาหารตามใจชอบ ซึ่งมักจะได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งยังไม่ยอมรับประทานผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์บางชนิด จึงเป็นสาเหตุให้เด็กได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน รวมไปถึงเด็กกำลังพักฟื้นหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ทั้งนี้เพราะร่างกายต้องการสารอาหารวิตามินเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษในการซ่อม แซมเนื้อเยื่อ หรือเสริมสร้างภูมิต้านทาน หรือหากเด็กมีโรคประจำตัวบางโรคอาจทำให้มีความต้องการวิตามินบางชนิดมากกว่า ปกติ หรืออาจจะรับประทานยาบางประเภทที่ทำลายหรือรบกวนการดูดซึมวิตามินและเกลือ แร่ในร่างกายจึงอาจต้องพิจารณาให้วิตามินเสริมแก่เด็กเหล่านี้

    อย่าง ไรก็ตามการให้วิตามินเสริมนั้นเป็นเพียงการเติมเต็มอาหารที่เด็กควรรับ ประทานตามปกติเท่านั้น วิตามินเสริมไม่สามารถทดแทนสารอาหารหลากหลายชนิดที่เด็กจะได้รับจากแหล่ง อาหารตามธรรมชาติ ดังนั้นขณะที่เด็กรับประทานวิตามินเสริม ควรพยายามให้เด็กรับประทานอาหารหลัก ผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ควบคู่ไปด้วยเสมอ เพื่อให้ได้รับกากใยอาหารและสารประกอบวิตามินต่างๆ ที่วิตามินเสริมไม่มี แต่ทั้งนี้การให้วิตามินเสริมควรคำนึงถึงปริมาณที่ได้รับด้วย โดยทั้งนี้ไม่ควรเกิน 100% ของปริมาณอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับแต่ละช่วงอายุด้วย เนื่องจากจะได้รับจากการรับประทานอาหารปกติอีกด้วย และการได้รับวิตามินบางชนิดที่มากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน

    ตารางแสดงปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (DRIs): ปริมาณวิตามินที่แนะนำสำหรับเด็กในช่วงวัยต่างๆ

    เอกสารอ้างอิง

    นุช ภิรมย์ และเอื้อมพร สกุลแก้ว. Vitamin for kid วิตามินสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ใกล้หมอ. 2548

    Peckenpaugh NJ, and Poleman CM. Chapter 5: Food as the Source of Vitamins, Minerals,
    Phytochemicals, and Water. In Nutrition Essentials and Diet Therpy. 8th ed. Philadelphia: W.B. Saunders Company. 1999.

    โพยม วงศ์ภูวรักษ์. บทที่2 ความต้องการพลังงานและความต้องการสารอาหาร. ใน การให้อาหารทางหลอดเลือดและการให้อาหารทางสายยาง. สงขลา: ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2549

    เอกสาร ประกอบการฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม หลักสูตรการบริบาลเภสัชกรรม (รุ่นที่ 1) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา. 2550

    : กาย
    : บทความ
    : สุขภาพดี
    panupong 27 ต.ค. 2552 28 ต.ค. 2552
    ความคิดเห็น (1)

    ตอนเด็กๆ เป็นคนที่กินยากและเลือกกินมาก
    ทำให้คุณแม่ต้องปวดหัวอยู่บ่อยๆ
    ถึงขนาดต้องจ้างให้กินข้าว กินไข่ กินนมเลยค่ะ

    กุ้งนาง (117.47.182.42) 28 ตุลาคม 2552 - 19:26 (#378)

    Saturday, May 1, 2010

    SLE หรือโรคพุ่มพวง

    SLE หรือโรคพุ่มพวง

    SLE คือ อะไร
    โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) หรือที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยในชื่อของ “โรคพุ่มพวง” เป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิต้านที่ผิดปกติ แล้วย้อนกลับมามีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยทำให้เกิดความผิดปกติต่อเส้นผม ผิวหนัง ข้อ ไต หัวใจ สมอง เลือด หลอดเลือด และองค์ประกอบอื่นๆ (ผิดปกติได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย) โดยที่ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการที่เกิดกับอวัยวะต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ได้แก่ เส้นผมและผิวหนัง จะมีผมร่วง มีผื่นที่ผิวหนัง มีภาวะแพ้แสงแดด (Photosensitivity)

    ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง อายุระหว่าง 20-45 ปี โดยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 9-10 เท่า พบได้ในทุกเชื้อชาติ จะพบในคนผิวดำและผิวเหลืองมากกว่าผิวขาว พบมากในบริเวณเอเชียตะวันออก เช่น ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และจีน

    ในปัจจุบันสาเหตุของโรค เอส แอล อี ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าอาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน คือ
    1. กรรมพันธุ์ 2. ฮอร์โมนเพศหญิง
    3. ภาวะติดเชื้อบางชนิด โดยเฉพาะเชื้อไวรัส

    แนวทางการรักษา
    การรักษาโรค SLE ทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นโรคต่าง ๆ และให้ยาจำเพาะสำหรับโรค ยาที่รักษา SLE นั้นมีหลายชนิด ยาที่แพทย์มักจะเลือกใช้คือ

    1. ยาต้านเชื้อมาเลเรีย จำพวก chloroquine ใช้ในรายที่อาการไม่รุนแรง เช่น ปวดข้อ มีผื่นขึ้น
    2. ยาพวก corticosteroid มีทั้งยากินและฉีด ในรายที่รุนแรงให้เป็นยาฉีด สำหรับความรุนแรงปานกลางให้เป็นยากิน
    3. ยาพวกปรับภูมิคุ้มกัน มีหลายชนิด มักใช้ในกรณีที่โรครุนแรง มีพยาธิสภาพกับอวัยวะภายในร่วมด้วย เช่น ที่สมอง ไต ปอด หัวใจ เป็นต้น
    4. ให้สารอิมมูโนโกลบูลินขนาดสูง ใช้ในรายที่ SLE ดื้อต่อยาอื่น ๆ จะได้ผลประมาณ 60% โดยเฉพาะ SLE ที่มีพยาธิสภาพที่ไตและสมองได้ผลดี ข้อดีของยานี้ช่วยไม่ให้ติดเชื้อง่าย
    5. การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา เป็นการรักษา SLE ที่มีอาการหนักและรุนแรงมากเป็นกรรมวิธีที่ต้องใช้ร่วมกับยาปรับภูมิคุ้มกัน

    จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรค SLE

    1. ในระยะแรกที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยา ต้องรับประทานยาตามขนาดและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด
    2. พยายามอย่าให้ผิวหนังถูกแสงแดดโดยตรง ควรใส่หมวกปีกกว้าง กางร่ม และสวมใส่เสื้อแขนยาวเวลาที่จำเป็นต้องออกแดด
    3. ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด ท้อถอย เศร้าใจ หรือกังวลใจ เพราะอาจทำให้อาการกำเริบได้ ควรมีกำลังใจและมีความอดทนต่อการรักษา
    4. เสริม สร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ต่าง ๆ ควรการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    5. เนื่องจากผู้ป่วย SLE มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่ายจึงต้องคอยระวังตัว ไม่เข้าใกล้ผู้ที่กำลังเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหวัด หลีกเลี่ยงการอยู่ในชุมชนแออัด นอกจากนี้อาหารที่รับประทานทุกชนิดควรเป็นอาหารที่สุก สะอาด
    6. ปฏิบัติ ตามคำแนะนำของแพทย์ ไปรับการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการรักษาและประเมินความรุนแรงของโรค ส่งผลให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม
    7. ไม่ควรเปลี่ยน แพทย์ผู้รักษาบ่อย ๆ เพราะแพทย์คนใหม่อาจจะไม่ทราบรายละเอียดของ อาการเจ็บป่วย ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยและการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายได้
    8. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะจะมีโอกาสแพ้ยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนธรรมดา
    9. ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง
    10. หาก พบอาการผิดปกติ มีไข้ หรือไม่สบาย ควรรีบกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทันที หรือหากจะไปหาแพทย์ท่านอื่น ควรนำยาที่กำลังรับประทานอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง เพื่อว่าแพทย์จะได้จัดยาได้ถูกต้องและสอดคล้องกับยาที่รับประทานอยู่เป็น ประจำ
    11. ผู้ป่วยหญิงที่แต่งงานแล้ว ไม่ควรมีบุตรในระยะที่โรคกำเริบ เพราะจะเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กในครรภ์ ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดเพราะอาจจะทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลี่ยงไปใช้การคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ผู้ป่วยจะสามารถตั้งครรภ์ได้เมื่อพ้นระยะที่โรคมีความรุนแรงแล้ว แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลอย่าง ใกล้ชิดจากแพทย์

    เอกสารอ้างอิง
    Pharmacotherapy: A Pathophysiologic Approach, Sixth Edition 2005, p.1981-1986.

    The American College of Rheumatology revised criteria for the classification of systemic lupus erythematosus 1997.

    เอกสาร ประกอบการฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม หลักสูตรการบริบาลเภสัชกรรม (รุ่นที่ 1) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา. 2550

    : กาย
    : บทความ
    : สุขภาพดี
    : sle โรค

    Monday, March 1, 2010

    การดูแลรักษาตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน

    การดูแลรักษาตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน

    เมื่อเป็นเบาหวานควรทำอย่างไร
    ปัจจุบัน นี้พบว่าอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเบาหวานในคนไทยเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิต เท่าที่ทราบกันว่าในขณะนี้ยังไม่มีการรักษาใดที่จะทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบา หวานหายขาดได้ แต่ก็มิใช่ว่าผู้ป่วยจะไม่สามารถดำรงค์ชีวิตอย่างปกติสุขได้ ทั้งนี้มีหลักการง่ายๆที่เป็นแนวทางให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดำเนินชีวิต อย่างปกติสุขได้ ดังนี

    1. พบแพทย์และตรวจเลือดตามนัด โรคนี้จะอาศัยการสังเกต ดูอาการแสดงเพียงอย่างเดียวแบบโรคทั่วๆ ไปไม่ได้ เนื่องเพราะถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเล็กน้อย (126-200 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร) ก็มักไม่มีอาการผิดปกติให้รู้สึกได้ กรณีเช่นนี้อาจทำให้ผู้ป่วยชะล่าใจ ปล่อยตัวจนอาจเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวได้ ดังนั้นจึงควรตรวจเลือดเป็นระยะๆ หากเป็นไปได้ควรตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดทุกวัน หรือทุกสัปดาห์
    2. กินยาลดน้ำตาลหรือฉีดอินซูลินตามขนาดที่แพทย์สั่ง อย่าลดยาหรือปรับยาตามความรู้สึก หรือการคาดเดาของตัวเองเป็นอันขาด ควรกินยาและกินอาหารให้เป็นเวลา (กินให้ตรงเวลาทุกมื้อ และอย่าเผลอหลับใกล้เวลาอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากยาที่ออกฤทธิ์) และกะปริมาณอาหารให้พอๆ กันทุกวัน
    3. ควรควบคุมอาหารการกินอย่างเคร่งครัด โดยมีหลักง่ายๆ ดังนี้
      1. กินอาหารวันละ 3 มื้อ กินให้ตรงเวลา ไม่งดมื้อใดมื้อหนึ่ง กินในปริมาณใกล้เคียงกันทุกวันทุกมื้อ
      2. อย่ากินจุบจิบ ไม่เป็นเวลา
      3. ในแต่ละมื้อ ให้กินอาหารที่มีทั้งแป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน และผัก
      4. หลีก เลี่ยงการกินน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมเชื่อมน้ำตาล นมหวาน (ให้ดื่มนมจืดแทน) ผลไม้ที่มีรสหวานจัด (เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย ลิ้นจี่ องุ่น ละมุด อ้อย) ผลไม้กระป๋อง ผลไม้แช่อิ่มหรือผลไม้เชื่อมน้ำตาล
      5. ห้ามดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ ยาดองเหล้า
      6. หลีก เลี่ยงการกินเครื่องในสัตว์ ไขมันสัตว์ น้ำมันหมู เนย มันหมู มันไก่ เนื้อติดมัน หมูสามชั้น ครีม กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ไข่แดง หอยนางรม อาหารทอด (เช่น ไก่ทอด กล้วยแขก ปาท่องโก๋ มันทอด)
      7. กินอาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ถั่ว ขนมปัง ในจำนวนพอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
      8. กิน ผักให้มากๆ โดยเฉพาะผักประเภทใบและถั่วสด เช่น ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักกะเฉด มะระ มะเขือยาว ถั่วงอก ถั่วแขก ถั่วฝักยาว เป็นต้น
      9. กินผลไม้ที่มีรสหวานไม่มากได้มื้อละ 6-8 คำ เช่น ส้ม มังคุด มะม่วง มะละกอ พุทรา ฝรั่ง สัปปะรด เป็นต้น
    4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือทำงานออกแรงกายให้มาก ควรทำในปริมาณที่เท่าๆ กันทุกวัน อย่าหักโหม ทั้งการควบคุมอาหารและการออกกำลัง ควรปฏิบัติการเกิดความพอเหมาะ เพราะจะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้ายังอ้วน แสดงว่ายังปฏิบัติตัวทั้ง 2 เรื่องไม่ได้เต็มที่
    5. ภาวะน้ำตาลต่ำ ผู้ที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ประจำทุกวัน ถ้าหากมีอาการหิว ใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย ตัวเย็น แสดงว่าอาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรรีบกินของหวานหรือน้ำตาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวลาที่กินอาหารน้อย หรือกินผิดเวลา ทำงานหรือออกกำลังกายหักโหมกว่าปกติ
    6. พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ร่าเริง อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล ถ้ามีความเครียด การออกกำลังกายจะช่วยผ่อนคลายความเครียดไปในตัว
    7. ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่างๆ
    8. หมั่นดูแลรักษาเท้า ดังนี้คือ
    • ทำ ความสะอาดเท้าและดูแลผิวหนังทุกวัน เวลาอาบน้ำควรล้างและฟอกสบู่ตามซอกนิ้วและส่วนต่างๆ ของเท้าอย่างทั่วถึง หลังล้างเท้าเรียบร้อยแล้วให้ซับทุกส่วน โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้าให้แห้งด้วยผ้าขนหนู ระวังอย่าเช็ดแรงเกินไป เพราะผิวหนังอาจถลอกเป็นแผลได้
    • ถ้าผิวหนังที่เท้าแห้งเกินไป ควรใช้ครีมทาผิวบางๆ โดยเว้นบริเวณซอกนิ้วเท้าและรอยเล็บเท้า
    • ตรวจ เท้าอย่างละเอียดทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า ฝ่าเท้าบริเวณที่เป็นจุดรับน้ำหนัก และรอบเล็บเท้า เพื่อดูว่ามีรอบซ้ำ มีบาดแผลหรือการอักเสบหรือไม่ หากมีแผลที่เท้า ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
    • การตัดเล็บควรตัดด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเล็บขบ ซึ่งอาจลุกลามและเป็นสาเหตุของการถูกตัดขาได้
      • ควรตัดเล็บในแนวตรงๆ อย่าให้สั้นชิดผิวหนังจนเกินไป
      • ไม่ควรใช้วัตถุแข็งแคะซอกเล็บ
      • การตัดเล็บ ควรทำหลังล้างเท้าหรืออาบน้ำใหม่ๆ เพราะเล็บจะอ่อนและตัดง่าย ถ้าสายตามองเห็นไม่ชัด ควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้
    • ป้องกัน การบาดเจ็บและเกิดแผล โดยการสวมรองเท้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน (อย่าเดินเท้าเปล่า) ควรเลือกรองเท้าที่ห่อหุ้มเท้าและข้อเท้า สวมพอดี ไม่หลวม ไม่บีบรัด พื้นนุ่ม มีการระบายอากาศและความชื้นได้ ควรสวมถุงเท้าด้วยเสมอ โดยเลือกสวมถุงเท้าที่สะอาด ไม่รัดแน่น และเปลี่ยนทุกวัน ก่อนสวมรองเท้าควรตรวจดูว่ามีวัตถุมีคมตกอยู่ในรองเท้าหรือไม่ สำหรับรองเท้าคู่ใหม่ ในระยะเริ่มแรก ควรใส่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ในแต่ละวัน เพื่อให้รองเท้าค่อยๆ ขยายปรับตัวเข้ากับเท้าได้ดี
    • หลีกเลี่ยงการตัดดึง หรือแกะหนังแข็งๆ หรือตาปลาที่ฝ่าเท้า และไม่ควรซื้อยากัดลอกตาปลามาใช้เอง
    • ถ้า รู้สึกว่าเท้าชา ห้ามวางขวดหรือกระเป๋าน้ำร้อน หรือประคบด้วยของร้อนใดๆ เพราะจะทำให้เกิดแผลพองไหม้ขึ้นได้ และไม่ช่วยให้อาการชาดีขึ้นแต่อย่างใด

    เมื่อไร...ควรไปพบแพทย์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และรับการรักษาอยู่ประจำ ควรไปพบแพทย์ก่อนนัด เมื่อ

    1. ขาดยาที่ใช้รักษา เช่น ยาหาย ยาไม่พอ
    2. มีอาการไม่สบาย เช่น ไข้สูง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินรุนแรง ซึม เป็นลม เป็นต้น

    “โรคเบาหวาน ถึงจะเป็นเรื้อรัง ก็ยังสามารถมีชีวิตอย่างปกติสุขได้ ถ้าไม่ท้อถอย และคอยหมั่นรักษาตัวเอง”

    เอกสารอ้างอิง
    เอกสารประกอบการฝึกงานวิชาชีพเภสัชกรรม หลักสูตรบริบาลเภสัชกรรม รุ่น1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา. 2550.

    : กาย
    : บทความ
    : สุขภาพดี
    panupong 12 ต.ค. 2552 13 ต.ค. 2552