Monday, November 16, 2009

วายร้ายโรคเกาต์

อ่าน: 81
ความเห็น: 17

โรคเกาต์เจ้าตัวร้าย

ความผิดพลาดทางการแพทย์หลายๆครั้งเป็นเรื่องของระบบและนโนบายน่ะครับ

ระวังอย่ามองข้ามความปลอดภัย โรคเกาต์ร้ายแรงกว่าที่คิด

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม1

ประเด็นการนำเสนอ

  1. โรคเกาต์คืออะไร

  2. ภาวะแทรกซ้อนจากเกาต์

  3. สถานการณ์ปัจจุบัน

  4. ตัวอย่างคนไข้โรคเกาต์สามเคส

  5. ยารักษาโรคเกาต์

  6. ชี้ให้เห็นปัญหาในการบริบาลผู้ป่วย

  7. บทสรุป

โรคเกาต์(gout) เป็นโรคที่ร่างกาย ของผู้ป่วยมีกรดยูริคสูงกว่าปกติ กรดยูริคที่สูงนั้นอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อ โดยเฉพาะจะปวดที่เท้าก่อน กรดยูริคนั้น มีมาก ในสัตว์ปีก และปลาดุก นอกจากนี้ การดื่มสุรา อาจทำให้ร่างกายขับกรดยูริคได้น้อยลง เมื่อกรดยูริคสูงมาก ก็จะเกิดการตกผลึก กรดยูริคในร่างกาย ทำให้เกิดการปวดข้อรุนแรง หน่วยไตอักเสบ และหลอดเลือดหัวใจถูกทำลายได้ ผู้ป่วยโรคเกาต์ ที่ขาดการติดตามรักษาที่ดีนั้น อาจเกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งได้แก่ โรคไตวาย โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหัวใจล้มเหลวได้

ปัจจุบันโรคเกาต์ไม่อยู่ในกระแสงานสาธารณสุขของไทย นโยบายการคัดกรองคนไข้โรคเกาต์ในชุมชนจึงไม่มี ทำให้คนไข้มากมายขาดโอกาสในการักษา นอกจากนี้ แนวทางการรักษาโรคเกาต์ก็ไม่ชัดเจน กระทรวงสาธารณสุข ก็ไม่มีนโยบายบังคับใช้ มาตราฐานการรักษษโรคเกาต์แต่อย่างใดเรียกว่า ปล่อยให้บุคลากรสาธารณสุข รักษากันตามอัธยาศัย หรือสุดแท้แต่วาสนานั่นเอง การที่ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการวางแผนการรักษานั้น ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการรักษาได้ง่าย เนื่องจาก ไม่มีแนวทางใดๆ มาช่วยแพทย์ตัดสินใจในการรักษา ทำให้คนไข้หลายรายขาดการรักษาหรือติดตามผลอย่างไม่เหมาะสม

คนไข้รายแรกที่มีปัญหาจากโรคเกาต์ก็คือ คนไข้เบาหวานที่เป็นไตวายรายหนึ่งมีชื่อว่าป้าพร ป้าพรเป็นโรคเกาต์และไตวายก่อนมารักษาที่โรงพยาบาลชุมชน คนไข้รักษาที่คลินิกในจังหวัดขอนแก่น โดยในช่วงนั้นคนไข้มีระดับไตวายไม่มากคือมี Cr= 1.9 mg/dL เท่านั้น ต่อมาเมื่อคนไข้ป่วยเป็นโรคเบาหวานทำให้คนไข้ เปลี่ยนมารักษาโรคที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เมื่อคนไข้มารักษาที่โรงพยาบาลประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคเกาต์ของป้าพร จึงไม่มี ทำให้กว่า 5 ปีของการรักษาโรคเบาหวานคนไข้ ไม่ได้ยารักษาโรคเกาต์เลย ทำให้คนไข้มีภาวะไตวายแย่ลงอย่างชัดเจนกว่าผู้เขียนจะนึกได้ ว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นเกาต์ มาก่อนทำให้ไตวายแย่ลงเรื่อยๆ ก็กินเวลานานหลายเดือนหลังจากทำทะเบียนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง กว่าจะรู้ว่าคนไข้เป็นเกาต์ไตคนไข้ก็ไตเสื่อมไปมากมาย Cr= 7.43 mg/dL แล้ว ซึ่งสูงมาก ในขณะที่ระดับกรดยูริคสูงถึง 13.06 mg/dL

ผู้ป่วยอีกรายหนึ่งชื่อตาดี เมื่อสองปีที่แล้ว มีอาการปวดข้อมาก บวมต้องมานอนโรงพยาบาล ตรวจพบว่ามีภาวะไตวาย Cr= 2.24 mg/dL และยูริคสูงอยู่ที่ 9.3 mg/dL ผู้ป่วยไม่ได้ยารักษาเกาต์กลับบ้านไป ได้แต่ยาโรคไต แต่ไม่ได้ยาเกาต์ต่อมา อีก 1 ปี คนไข้มาโรงพยาบาลด้วยการหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ตรวจพบว่า คนไข้เข้าสู่ภาวะโรคหัวใจล้มเหลวแล้ว โดยมี Cr= 1.93 mg/dL และยูริคสูงอยู่ที่ 11.42 mg/dL จากการสอบถาม พบว่าคนไข้มีอาการปวดข้อเสมอๆ มาหนนี้เภสัชกร จึงเข้าไปแนะนำแพทย์ให้สั่งยารักษาเกาต์ให้คนไข้ด้วย ทำให้ปัจจุบันคนไข้ไม่มี อาการปวดเกาต์อีกเลยปัญหาการไม่สั่งยาโรคเกาต์ของแพทย์ ส่วนหนึ่งเกิดจาก ไม่มีข้อบ่งชี้หรือระเบียบที่ชัดเจน ในการตัดสินใจว่าเมื่อใดต้องสั่งยารักษาโรคเกาต์ ในตำราแพทย์เองก็เขียนคำแนะนำไม่ชัดเจนว่าเมื่อใด ควรให้ยารักษาเกาต์ แต่กรณีนี้ ตำราแพทย์เขียนไว้ชัดว่าตาดีต้องได้ยารักษาเกาต์เนื่องจาก ตาดีมีภาวะไตวายเรื้อรังและปวดเท้า ปวดข้ออยู่บ่อยๆ

ในผู้ป่วยรายสุดท้ายชื่อยายแก้วเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและไตวาย Cr= 7.71 mg/dL ผู้เขียนเองได้ลงไปเยี่ยมผู้ป่วยถึงบ้านขาม ที่บ้านจากการสอบถามลูกสาวผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วย เคยไปรักษาโรคเกาต์ที่คลินิกเมื่อสามปีที่แล้วแต่ช่วงหลังไม่ได้ไปรักษา เพราะไม่มีใครพาไป จากการค้นเวชระเบียนในโรงพยาบาลพบว่า ผู้ป่วยไม่มีประวัติเป็นโรคเกาต์ หรือมีอาการปวดเท้าในเวชระเบียนเลย ต่อมาเมื่อผู้ป่วยรายนี้ มาตรวจเลือดที่โรงพยาบาล พบว่ามีระดับยูริคสูงถึง 14.6 mg/dL ต่อมาอีก 3 เดือนผู้ป่วยก็เสียชีวิตด้วยภาวะไตวาย จากกรณีตัวอย่างทั้งสามเคส พบว่าปัญหาโรคเกาต์นั้นถูกมองข้ามไปหลายประเด็น ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาการบริหารงานสาธารณสุขเชิงระบบนั่นเอง โดยผู้เขียนขอแตกประเด็นปัญหาออกเป็น 4 ประเด็น

  1. การไม่มีนโยบายการคัดกรองผู้ป่วยโรคเกาต์

  2. การขาดกำหนดแนวทางการรักษาโรคเกาต์

  3. การขาดนโยบายติดตามดูแลผู้ป่วยเกาต์

  4. การไม่มีนโยบายนิเทศติดตามมาตรฐาน การให้บริบาลผู้ป่วยตามกลุ่มโรคต่างๆ

ปัญหาเชิงระบบการบริหารงานสาธารณสุข แบบนี้ ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมาก ที่ไม่จำเป็นต้องเสียชีวิต หรือพิการ ต้องมาเสียชีวิตและพิการ นโยบาย ของผู้บริหารสาธารณสุข ยังคงวนเวียนกับโรคระบาด โรคแปลกประหลาด หรือโรคดังๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ การกำกับดูแลการรักษาของแพทย์ก็ไม่มี ทางกระทรวงสาธารณสุข เอง คงต้องโดนฟ้องร้องจากผู้ป่วยอีกมากในอนาคตหากไม่มีนโยบาย ในการควบคุมคุณภาพการรักษาโรคอย่างจริงจังและเป็นระบบมากกว่าที่เป็นอยู่ นอกเหนือจากการพยายามเป็นข่าวรายวันในสื่อ คงต้องรอดูกันต่อไปว่า รัฐมนตรีในพรรคฝ่ายรัฐบาลยุค นายกอภิสิทธิ เวชชาชีวะ จำทำได้ดีขนาดไหนในการบริหารงานสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพดี

ในส่วนของโรงพยาบาลเอง ก็จำเป็นต้องมีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคเกาต์ที่ชัดเจน และได้มาตรฐานเมื่อมีแนวทางแล้ว จำเป้นต้องมีการประเมิน นิเทศ ติดตาม ว่าแนวทางที่ได้ผลดีหรือไม่ต่อไป การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลแบบนี้ ถือเป็นแนวทางแบบ SPA ที่ สรพ.ได้เดินมาถูกทางแล้วครับ สาธุ

1เภสัชกรประจำโรงพยาบาลอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 086-6317372 frxbaby@gmail.com

หมวดหมู่: การเมือง การปกครอง กฎหมาย
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า Cc-by-nc
สร้าง: ส. 14 พ.ย. 2552 @ 07:28 แก้ไข: ส. 14 พ.ย. 2552 @ 07:55

ความเห็น

1.
P
นาย สามารถ เศรษฐวิทยา
เมื่อ ส. 14 พ.ย. 2552 @ 07:51
#1673903 [ ลบ ]

การกินยาหม้อ จะทำให้ไตทำงานหนักขึ้นไหมครับ

2.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 14 พ.ย. 2552 @ 07:57
#1673911 [ ลบ ]

การกินยาหม้อ อาจจะทำให้ไตทำงานหนักได้ แต่ไตวายมักเกิดจาก

  1. คนไข้ไม่ยอมกินยาตามหมอสั่ง
  2. ยาชุด
  3. ยามะเร็ง
  4. อาหารเค็ม
  5. ความดันสูง
  6. เบาหวาน
  7. เกาต์

ยาหม้อ ส่วนมากไม่ใช่สาเหตุโรคไตครับ

แต่ถ้าโรคหน้าหม้อ ไม่แน่ครับ ไตอาจทำงานหนักได้ 555 ล้อเล่น

3.
P
นาย สามารถ เศรษฐวิทยา
เมื่อ ส. 14 พ.ย. 2552 @ 08:09
#1673926 [ ลบ ]

555 โรคที่ท่านว่าล่าสุดถ้าจะรักษายาก 555

4.
P
นาย สามารถ เศรษฐวิทยา
เมื่อ ส. 14 พ.ย. 2552 @ 08:11
#1673929 [ ลบ ]

นิ้วหรือมนุษย์ต่างดาวครับ ไม่นึกว่าจะหนักปานนี้

5.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 14 พ.ย. 2552 @ 20:28
#1674780 [ ลบ ]

เรียนคุณสามารถ

คนไข้หนักๆ แบบนี้ มีจริงครับ ผมเจอมาหลายเคส

บวมจนข้อผิดรูป

แต่ที่น่ากลัวกว่า คือ เกาต์กินจนไตพิการ และหัวใจวายแบบนี้ อันตรายมากครับ

6.
P
วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
เมื่อ ส. 14 พ.ย. 2552 @ 20:32
#1674794 [ ลบ ]

สวัสดีครับท่านศุภรักษ์ ผู้เฒ่าก็เป็น เกาตืครับ เดินป่าขึ้นเขา บรรทัด ปวดจนแทบก้าวขาไม่ออก

ทรมานมากครับ

7.
P
ท้องฟ้า
เมื่อ ส. 14 พ.ย. 2552 @ 21:41
#1674980 [ ลบ ]

อ.ศุภรักษ์ เฮอ...พึ่งเคยเห็นรูปโรคเกาต์ที่เป็นมากถึงขนาดนี้ เวลาคุณท้องฟ้าวักประวัติผู้มารับบริการก็พยายามถามทุกครั้งรุมัยว่าตนเองมี โรคประจำตัวอะไรบ้าง งเคยตรวจที่ใหนมาบ้าง หมอใหญ่ว่าอย่างไร บางคั้งก็เป็นการทบทวนประวัติการรักษาของผู้รับบริการ ซึ่งบางท่านก็ชอบชอปปิ้ง โรงพยาบาลและหรือคลินิค ขอบคุณอ. ศุกรักษ์ที่เขียนเรื่องดีทำให้ได้เรียนรู้ อีกหน่อยถ้าไปอยู่สายรองสสจ ด้านสาธารณสุข รับรองว่างานสาธารณสุขของไทยเราไปได้ไกลโลดๆๆๆ

8.
  • เห็นรูปแล้วน่ากลัวนะคะ
  • อย่างนี้คนป่วยคงทรมานแย่...
  • ฝากความหวังไว้ที่คุณหมอทุกท่านด้วยนะคะ
  • ขอบคุณที่แบ่งปัน
9.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 14 พ.ย. 2552 @ 22:14
#1675032 [ ลบ ]

ขอให้

วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- ดูแลตนเองให้ดีครับ

คุมอาหาร +และทานยาเกาต์ ตาม (CPG)

หายไวๆ น่ะครับ

10.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 14 พ.ย. 2552 @ 22:17
#1675037 [ ลบ ]

เรียน นางฟ้าสีขาว ท่านท้องฟ้า

กระผม ชอบอยู่บ้านนอก กระผม ไม่อยาก ได้ดิบได้ดีอะัไร

กระผม แค่มีความสุข ที่ ได้ ช่วยชาวบ้านครับ

ขอบคุณที่อวยพรครับ 555

11.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 14 พ.ย. 2552 @ 22:21
#1675044 [ ลบ ]

ขอบคุณ

คุณครู วรางค์ภรณ์ เนื่องจากอวน

ที่มาเยี่ยมชมมากๆ ครับ

12.
P
วันเพ็ญ
เมื่อ ส. 14 พ.ย. 2552 @ 22:27
#1675057 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ

ได้ประโยชน์มากค่ะ ดิฉันจะต้องนำไปพิจารณาตนเองแล้วค่ะ เพราะกรดยูริคเริ่มสูง

13.
P
small man
เมื่อ อา. 15 พ.ย. 2552 @ 07:39
#1675405 [ ลบ ]

พรรคพวกผมหลายคนเป็นเกาต์กันมากครับ ส่วนใหญ่เขาจะคงบคุมอาหาร ก็พอประคับประคองไปได้ครับ

14.
P
บุษรา
เมื่อ อา. 15 พ.ย. 2552 @ 20:57
#1676519 [ ลบ ]
  • สวัสดีค่ะ คุณศุภรักษ์
  • แวะมาขอบคุณที่ไปให้กำลังใจบุษรา เรื่อง "คำ...คอมเม้นท์" ค่ะ
  • มาเรียนรู้ "โรคเกาต์เจ้าตัวร้าย" ด้วยคนค่ะ อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมมากมาย
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันค่ะ

15.
P
วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
เมื่อ อา. 15 พ.ย. 2552 @ 21:57
#1676638 [ ลบ ]

มาสนทนาอีกครั้งครับท่านศุภรักษ์ เภสัชบ้านนอก แวะมาบอกว่าคุมอาหารไม่ได้ทานยา

แต่ก็ขอบคุณหนักหนา ที่นำGOUT มาให้เรียนรู้ครับ

16.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อา. 15 พ.ย. 2552 @ 22:09
#1676666 [ ลบ ]

ดูยูริกเป็นหลัก ครับ

ถ้าระดับยูริกต่ำกว่า 7 ก็ ok

นอกนั้นดูความเสี่ยง

หากมีโอกาสเป้นโรคไต+โรคหัวใจสูง

ต้องกินยา ครับ เช่น เป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูงหรือความดัน

กรรมพันธุ์ มีคนเป้นโรคไต โรคหัวใจ

สุดท้าย ถ้าปวดเท้าบ่อยๆ กินเถอะครับ

ที่อุบลรัตน์ ประชากร 40000 คน

มีคนไข้ตายหรือพิการ เพราะเกาต์ มากกว่า 30 คนแล้วครับ

17.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อา. 15 พ.ย. 2552 @ 22:11
#1676673 [ ลบ ]

ดูอนุทินได้ครับ

วันนี้ ไปเยี่ยมคนไข้ ที่เป็นไตวาย และโรคหัวใจ จากเกาต์ ถึง 4 เคสครับ

อย่าประมาท

พี่ชายผมก็หัวใจขาดเลือดเพราะเกาต์ไปเรียบร้อยแล้ว

No comments:

Post a Comment